บ้านพักประวัติศาสตร์หลวงราชไมตรี

รางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่น สมาคมสถาปนิกสยามในพระราชูปถัมภ์ 2558

รางวัลสมควรเผยแพร่ รางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น สมาคมสถาปนิกสยามในพระราชูปถัมภ์ 2559

Award of Merit UNESCO Asia-Pacific Awards for Cultural Heritage Conservation 2015

Winner : FuturArc Green Leadership Award in the Socially Inclusive Development Category 2015

การร่วมแรงร่วมใจปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอาคารเก่าเพื่อฟื้นฟูจิตวิญญาณชุมชนประวัติศาสตร์

ความเป็นมาของโครงการ

เป็นเวลากว่า 5 ปี นับจาก พ.ศ. 2552 ที่ชุมชนโดยชมรมพัฒนาริมน้ำจันทบูร ได้ร่วมกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดจันทบุรี สถาบันอาศรมศิลป์ และหน่วยงานอื่นๆ ดำเนินการอนุรักษ์และฟื้นฟูย่านจน เกิดเป็นวิสัยทัศน์ “วัฒนธรรมนำการค้า” เพื่อให้การอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและฟื้นฟูชุมชนเป็นไปได้อย่างยั่งยืน สามารถรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิม ของชุมชนไว้ได้ ทั้งในมิติทางสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ โดยที่ไม่พัฒนาไปตามกระแสการท่องเที่ยวเชิงการค้าเพียงอย่างเดียว ชมรมพัฒนาชุมชนริมน้ำาจันทบูรจึงร่วมกับบริษัท ร่วมทุนรักษ์ดี จำกัด โดยสถาบันอาศรมศิลป์ ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไร (Non-Profit Organization) ก่อตั้งบริษัท จันทบูรรักษ์ดี จำกัด ขึ้นเพื่อเป็นโครงการตัวอย่างของการอนุรักษ์อย่างมีส่วนร่วม เป็นแหล่งเรียนรู้ในลักษณะชุมชนเรียนรู้พึ่งพาตนเอง ด้วยแนวคิดธุรกิจสังคมเพื่อการอนุรักษ์ สถาปัตยกรรมและการฟื้นฟูย่านประวัติศาสตร์ (Social Enterprise for Architectural Conservation and Revitalization Historic District) เริ่มจากการเปิดระดมทุนจากชาวชุมชน ชาวจันทบุรี และบุคคลทั่วไปที่มีเจตนารมณ์ร่วมกันซึ่งปัจจุบันมีผู้ถือหุ้นมากถึง 501 ราย เพื่อปรับปรุงบ้านหลวง ราชไมตรีให้เป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนและที่พักในรูปแบบบ้านพักประวัติศาสาตร์ (Historic Inn) ด้วยงบประมาณ 8.8 ล้านบาท โดยรายได้บางส่วนจากการดำเนินกิจการจะถูกนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาชุมชนในระยะยาว

ความสำคัญของอาคารและที่ตั้งโครงการ

ชุมชนริมน้ำจันทบูร มีประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่ปลายสมัยอยุธยา เรื่อยมาจนมาถึงปัจจุบัน รอดพ้นจากการเสียดินแดนในยุคอาณานิคมฝรั่งเศสสมัย ร.ศ. 112 เป็นชุมชนเก่าแก่บนถนนสายแรกของจันทบุรี และด้วยทำาเลที่ตั้งที่เหมาะสมจึงเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจการค้าและคมนาคม ทำให้เกิดการผสมผสานของวัฒนธรรมทั้งคนไทย คนจีน และคนญวน ซึ่งมีทั้งข้าราชการและพ่อค้าคหบดี ส่งผลให้ชุมชนนี้มีความเจริญรุ่งเรืองมากในอดีต เช่นเดียวกับย่านเยาวราชในกรุงเทพมหานคร บ้านพักประวัติศาสตร์หลวงราชไมตรี เป็นโบราณสถานเนื่องจากมีอายุกว่า 120 ปี มีรูปแบบทาง สถาปัตยกรรมที่สวยงามผสมผสานรูปแบบตะวันตกและตะวันออก แต่เดิมเป็นบ้านของ หลวงราชไมตรี มีนามว่า ปูม ปุณศรี เป็นผู้นำยางพารามาปลูกเป็นคนแรกในเมืองจันทบุรีและดำาเนินการค้าจนส่งผลทางเศรษฐกิจให้กับเมืองจันทบุรีมีชื่อเสียงโด่งดัง ได้รับสมญานามว่าเป็น “บิดาแห่งยางพาราภาคตะวันออก” ซึ่งแม้เป็นเพียงชาวบ้านทำงานค้าขาย แต่ด้วยความขยันหมั่นเพียร คุณงามความดีที่ท่าน ทำประโยชน์ไว้ให้กับแผ่นดินมากมาย ทำให้ท่านได้รับโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็น “หลวงราชไมตรี”

ที่ตั้งโครงการในปัจจุบัน

ที่ตั้งโครงการในอดีต

สถาปัตยกรรมฟื้นชีวิต ชีวิตฟื้นสถาปัตยกรรม

คุณค่าของการการอนุรักษ์และปรับปรุงบ้านหลวงราชไมตรีให้เป็น บ้านพักประวัติศาสตร์ หลวงราชไมตรี ด้วยแนวคิดกิจการสังคม (Social Enterprise) ถือเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการขับเคลื่อนการอนุรักษ์และพัฒนาชุมชนริมน้ำจันทบูร เนื่องจากเป้าหมายที่แท้จริงของโครงการไม่ใช่ การดำเนินงานเพื่อผลสำเร็จเชิงธุรกิจ หากแต่เป็นเครื่องมือให้เกิดการมีส่วนร่วมเพื่อการรักษาวิถีชีวิต ชุมชน และส่งเสริมความเป็นเจ้าของพื้นที่ของคนในท้องถิ่น รวมถึงเป็นแบบอย่างและแรงบันดาลใจของ คนในชุมชนให้เกิดการรักษาบ้านของตน ตลอดจนนำไปสู่การปรับปรุงบ้านของตนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ส่งผลให้ชุมชนนี้มีพื้นที่ศึกษาเรียนรู้กระจายตัวอยู่ทั่วชุมชน ให้เกิดคุณค่าทั้งในเชิงวิชาการ สังคม และเศรษฐกิจ

สถาปัตยกรรมที่บูรณาการแนวคิดทั้งมิติทางสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ การออกแบบพื้นที่ใช้สอยอย่างมีส่วนร่วม

ด้วยการระดมความคิดระหว่างสถาปนิกและตัวแทนชาวชุมชนเพื่อให้เกิดการออกแบบพื้นที่อย่างสร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ทั้งในมิติทางสังคม  วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ ปลุกจิตสำานึกความเป็นเจ้าของพื้นที่ให้แก่คนในชุมชน และสอดคล้องกับความต้องการด้าน การใช้สอยอย่างแท้จริง

พื้นที่นิทรรศการ

โถงชั้นล่าง ออกแบบให้เป็นพื้นที่ต้อนรับและส่วนแสดงนิทรรศการของท่านหลวงราชไมตรี และจัดแสดงหลักฐานทางโบราณคดีที่โครงการได้ทำการขุดค้นพบเพื่อการเรียนรู้ของชาวชุมชนและบุคคลทั่วไป

พื้นที่รองรองกิจกรรมทางวัฒนธรรมชุมชน

ออกแบบให้โถงชั้นล่าง ระเบียงริมน้ำ ชานข้างบ้าน เป็น multi purpose area รองรับการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม ประจำปีของชาวชุมชน และกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างชุมชนริมน้ำาจันทบูรกับชุมชนอื่นๆ

พื้นที่สร้างรายได้

ออกแบบห้องพักซึ่งเป็นพื้นที่สร้างรายได้หลักให้โครงการ โดยออกแบบให้เกิดพื้นที่ใช้สอยที่คุ้มค่าในกรอบของอาคารเดิมที่มีความจำกัด ด้วยการออกแบบห้องพักให้มีชั้นลอยเพื่อใช้ศักยภาพด้านที่ว่างทางตั้งของอาคารเดิมให้คุ้มค่า ประกอบกับการใช้โครงสร้างเบาเพื่อลดภาระในการเพิ่มน้ำหนักให้แก่ตัวอาคารเดิม และควบคุมราคาค่าก่อสร้างให้อยู่ในงบประมาณ

สืบทอดภูมิปัญญาจากอดีต สู่ ปัจจุบัน

การสื่อความหมาย

รักษาและออกแบบให้สถาปัตยกรรมสามารถสื่อความหมายให้คนรุ่นหลังได้มีพื้นที่เรียนรู้ รูปแบบ องค์ประกอบ และเทคนิคการก่อสร้างของสถาปัตยกรรมโบราณอันเป็นภูมิปัญญาของคนในอดีต ด้วยการสื่อผ่านโครงหลังคาไม้เดิม ผนังก่ออิฐฉาบปูนหมักขัดปูนตำ พื้นไม้ ซึ่งเป็นของเดิมในลักษณะของ Space Exhibition บริเวณโถงบันไดชั้น 2

การให้ความรู้

ออกแบบ 12 ห้องพักจาก 12 เรื่องราวชีวิตของหลวงราชไมตรี โดยมีเอกสารสำคัญถูกจัดแสดงไว้ในแต่ละห้องพักเพื่อ เป็นการสื่อความหมาย และเรียนรู้คุณค่าของประวัติชีวิตของหลวงราชไมตรีสู่ผู้มาเยือนและคนรุ่นหลัง

การก่อสร้าง

ทำการออกแบบวิธีการก่อสร้างให้เกิดการถ่ายถอดและรื้อฟื้นภูมิปัญญาในการทำปูนหมัก ด้วยการชักชวนช่างฝีมือท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี ซึ่งปัจจุบันการใช้ปูนหมักในงานก่อ ฉาบ การทำาลายบัวปูนปั้นผนังในจังหวัดจันทบุรีไม่ได้รับความสนใจแล้ว มาร่วมเรียนรู้วิธีการและประโยช์ของปูนหมัก ด้วยการปฏิบัติงานจริงในการก่อสร้างบ้านหลวงราชไมตรี

Previous
Next