Liberal Arts’ Courses

Previous
Next

ผู้ประกอบการสังคม
เรียนรู้เพื่อเปลี่ยนสังคม ผ่านคุณค่าและงานที่รัก

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาผู้ประกอบการสังคม มีเจตจำนงที่จะเสริมสร้างศักยภาพบุคคลเพื่อให้เป็นผู้ประกอบการสังคม
ที่มีความสามารถในการประกอบสัมมาชีพที่เกื้อกูลสังคม  มีความเข้าใจ ร่วมรับผิดชอบต่อชุมชนท้องถิ่นอย่างบูรณาการ
คือ คำนึงถึงทั้งด้านกายภาพ การพึ่งพาตนเอง มีจิตสำนึกตามวิถีชีวิตการอยู่ร่วมกันทางสังคม

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาผู้ประกอบการสังคม
Bachelor of Arts Program in Social Entrepreneur

ชื่อปริญญา
ภาษาไทย ศิลปศาสตรบัณฑิต ผู้ประกอบการสังคม
ภาษาอังกฤษ Bachelor of Arts Social Entrepreneur
ชื่อย่อภาษาไทย ศศ.บ. ผู้ประกอบการสังคม
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ B.A. Social Entrepreneur

วิชาเอก
หลักสูตรประกอบด้วย 6 แขนง ดังนี้
1. แขนงผู้ประกอบการสังคมด้านธุรกิจเพื่อสังคม
2.แขนงผู้ประกอบการสังคมด้านศิลปะการสะคร
3. แขนงผู้ประกอบการสังคมด้านสุขภาพตามหลักแพทย์วิถีธรรม
4. แขนงผู้ประกอบการสังคมเพื่อชุมชน
5. แขนงผู้ประกอบการสังคมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
6. แขนงนวัตกรรมการประกอบการสังคม

จำนวนหน่วยกิตที่เรียน
ตลอดหลักสูตร  120  หน่วยกิต

รูปแบบของหลักสูตร  
หลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง

เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558 และเรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552

ภาษาที่ใช้  
ภาษาไทย เอกสารและตำราภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

การรับเข้าศึกษา
รับเฉพาะผู้เข้าศึกษาชาวไทย และผู้เข้าศึกษาแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศที่ใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี

ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
เป็นหลักสูตรเฉพาะของสถาบันที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง

การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว




คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
  • สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สายสามัญ หรือเทียบเท่า ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ หรือ
  • เป็นเจ้าของกิจการ หรือเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในการประกอบธุรกิจเพื่อชุมชนหรือสังคม เป็นประธาน ผู้อำนวยการ ผู้จัดการ เป็นกรรมการ หรือตำแหน่งบริหารที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่น โดยดำเนินการกิจการมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์นับถึงวันเปิดภาคการศึกษาแรก และเป็นผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาไม่ต่ำกว่าชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญหรือสายอาชีพ หรือเทียบเท่าตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ
  • ผ่านกระบวนการคัดกรองเพื่อเข้ารับการศึกษาตามที่สถาบันอาศรมศิลป์กำหนด
  • มีสุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและการปฏิบัติวิชาชีพ
รายวิชาที่เรียน

คำอธิบายรายวิชา
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

ASI 10101 ปัญหาชุมชนไทยกับการพัฒนา
(Thai Social Problem and Development) 3 (1-4-4)
สภาพของชุมชนไทยในอดีต การเปลี่ยนแปลงของชุมชนไทย ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ แนวทางแก้ไขปัญหาของสังคมไทย แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายของรัฐบาลปัจจุบัน

ASI 20102 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย
(Introduction to General Law) 3 (3-0-6)
ศึกษาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักกฎหมายเบื้องต้น ที่มา ประเภท ความสำคัญ การจัดทำ การใช้ การยกเลิก การตีความและกระบวนการยุติธรรม ฯลฯ ศึกษากฎหมายแพ่งพาณิชย์ กฎหมายอาญา และกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งอาญา เฉพาะส่วนที่เป็นความรู้เบื้องต้น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ประกอบด้วย พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ รวมทั้งจรรยาบรรณของผู้ใช้กฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพ

ASI 10201 มงคลชีวิตและวิถีสุขภาวะแบบองค์รวม
(Contemplative Practices and Holistic Well-being Approach) 3 (1-4-4)
การฝึกปฏิบัติการเพื่อสร้างพื้นฐานการพัฒนาชีวิตจากภายในจิตใจ ด้วยการฝึกฝน บ่มเพาะ ญาณทัศนะ โดยอาศัยกัลยาณมิตรและชุมชนที่สมานฉันท์ ผ่านกระบวนการแห่งการภาวนา 4 คือ ศีลภาวนา กายภาวนา จิตตภาวนา และปัญญาภาวนา รวมทั้งการสร้างสุขภาวะแบบองค์รวมผ่านกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่างๆของสถาบันอาศรมศิลป์ และการฝึกปฏิบัติการในวิถีชีวิตประจำวัน ด้วยความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของสุขภาพโดยการเอาใจใส่ดูแล อิริยาบถพฤติกรรม มีสติในการกินอยู่ ที่เอื้อต่อสุขภาพอนามัย มีความรู้ถึงสาเหตุและลักษณะอาการของความเจ็บป่วยแบบเรื้อรัง หรือแบบปัจจุบันทันด่วน รวมทั้งอุบัติภัยต่าง ๆ และรู้วิธีที่จะป้องกัน แก้ไข หรือลดความเสี่ยง พร้อมทั้งการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อให้เป็นผู้ซึ่งดูแลตนเองในการรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง และมีภูมิต้านทานที่ดี

ASI 10202 จริยศิลป์
(Contemplative Arts) 3 (1-4-4)
เรียนรู้ละฝึกปฏิบัติการปลูกฝังความชื่นชมและสำนึกในคุณค่าของงานสร้างสรรค์ทางศิลปะ ศึกษาหลักเบื้องต้นเกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ ความเข้าใจในทัศนศิลป์สาขาต่างๆ รูปแบบและความเป็นมาของศิลปะไทยและสากล การแสดงออกทางศิลปะของมนุษย์ที่มีอิทธิพลต่อชีวิตและสังคม การฝึกฝนทักษะการพัฒนาภายในจิตใจผ่านกิจกรรมจริยศิลป์

ASI 10301 ธรรมชาติศึกษา การเปลี่ยนแปลงและการธำรงรักษา
(Nature-Study, Movement and Preservation) 3 (1-4-4)
สมดุลของโลกธรรมชาติ และสรรพสิ่งปัจจุบัน การรู้จักรูปทรง โครงสร้างของธรรมชาติ การคงสภาพสืบเนื่อง การเปลี่ยนแปลง บทบาทหน้าที่ของสรรพสิ่ง (ระบบนิเวศ) ที่เกื้อกูลสมดุลธรรมชาติ โดยศึกษาข้อมูลในอดีตเชิงสถิติและภาพรวม ผ่านการสัมผัสธรรมชาติจริง เรียนรู้โดยเน้นฝึกทักษะการสังเกตสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติทั้งใกล้และไกล ฝึกเปลี่ยนการมองตรงจากความจริงที่ช่วยสะท้อนถึงรูปแบบของความคิด การตรึกตรอง การไต่สวนเพื่อให้พูนเพิ่มความรู้ หรือกรอบปฏิบัติการที่ถูกต้องตรงทาง ฝึกป้อนตัวรู้ การตั้งคำถามอย่างสร้างสรรค์ และการหาคำตอบที่คมชัดในทุกแหล่งเรียนรู้ได้ด้วยตนเองจากธรรมชาติ ฝึกการเก็บข้อมูลโดยการวาดรูป บันทึกภาพ เชื่อมโยงข้อมูลที่ได้รับ เพื่อให้เกิดสมมุติฐานในการตรวจสอบและหาคำตอบต่อไป ประมวลความรู้ เพื่อการเข้าถึงกฎระเบียบ ระบบต่างๆ ที่มีในธรรมชาติ ที่ทรงอิทธิพลต่อมนุษย์ เกิดการอนุรักษ์และการเข้าถึงวิถีแห่งการธำรงรักษาที่ดีที่สุดคือ การรู้จริงโดยตนเองและมีวิสัยทัศน์ที่เปิดกว้างในการเรียนรู้แบบองค์รวม

ASI 10302 คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
(Introduction to Computer, Information and Technology) 3 (2-2-5)
หลักการทำงานของระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อจัดเตรียมเอกสารและการนำเสนองานต่อบุคคล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในวิชาชีพ การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศออนไลน์ และการจัดทำฐานข้อมูลในระดับบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในวิชาชีพ

ASI 10401 การใช้ภาษาอังกฤษ 1
(English Usage I) 3 (2-2-5)
ทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ในลักษณะที่ผสมผสานกันทั้ง 4 ทักษะ โดยอาศัยการศึกษาโครงสร้างทางไวยากรณ์ของภาษาเป็นรากฐาน และเน้นหนักไปในด้านการอ่านเพื่อช่วยให้สามารถใช้ภาษาทางด้านการสื่อสารในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง

ASI 10402 การใช้ภาษาอังกฤษ 2
(English Usage II) 3 (2-2-5)
ทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน เพิ่มเติม ในลักษณะเชื่อมโยง ประสานกันทั้ง 4 ทักษะ โดยอาศัยการศึกษาโครงสร้างทางไวยากรณ์เป็นรากฐาน และเน้นหนักไปในด้านการเขียนเพื่อช่วยให้สามารถใช้ภาษาได้ถูกต้องในด้านการสื่อสารในชีวิตประจำวันและในการศึกษาภาษาอังกฤษชั้นสูง

ASI 10403 การรู้ภาษาไทย
(Thai Literacy) 3 (2-2-5)
หลักการและการฝึกทักษะการฟัง การอ่าน การคิด การเขียนและการพูด ด้านการฟังและการอ่านจะเป็นการจับใจความสำคัญและการแสดงความคิดเห็น สำหรับการอ่านจะเน้นการอ่านออกเสียงด้วย ด้านการเขียนจะเน้นการใช้ภาษา การเขียนย่อหน้า สำนวนโวหาร ภาพพจน์ ตลอดจนการเก็บและบันทึกข้อมูล ด้านการพูดจะเน้นการสนทนา การสัมภาษณ์ การเล่าเรื่อง การประชุม ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้ทักษะดังกล่าวถ่ายทอดความรู้ ความคิดอย่างมีขั้นตอนและสมเหตุสมผล

ASI 20404 การอ่านภาษาอังกฤษ
(English Reading) 3 (2-2-5)
กลวิธีต่าง ๆ ที่ช่วยให้อ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพถูกต้องรวดเร็ว โดยศึกษาวิธีการหาความหมายของศัพท์ ความเข้าใจประโยคซับซ้อน การอ่านจับใจความความสำคัญ การหาใจความสนับสนุนฝึกการอ่านเพื่อความเข้าใจและฝึกการอ่านด้วยตนเอง

หมวดวิชาแกน

SEP 10501 แผนแม่บทและการสำรวจชุมชน
(Community Master Plan & Community Mapping) 3 (1-2-6)
ศึกษาแนวความคิดการสำรวจชุมชนและจัดทำแผนแม่บทชุมชน การกำหนดทิศทางของชุมชนในระยะสั้นและยาว ใช้เครื่องมือสำรวจชุมชนหลากหลายแบบ ผ่านกระบวนการเรียนรู้และจัดทำร่วมกันของผู้นำและคนในชุมชน นำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชน โดยใช้การสำรวจชุมชนในการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทั้งลักษณะทางกายภาพ ศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชน เศรษฐกิจและทุนทางสังคม สุขภาวะชุมชน ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิต วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล จัดทำแผนที่เชิงกายภาพ แผนที่คนดี และแผนที่สุขภาวะ ฯ พร้อมทั้งสร้างการรับรู้และสื่อสาร ทำความเข้าใจร่วมกันของคนในชุมชน นำแผนสู่การปฏิบัติ การประเมินผลสรุปบทเรียนและปรับปรุงแผนต่อไป เพื่อให้ผู้เรียนได้ลงมือสำรวจชุมชนด้วยตนเอง มองเห็นสภาวะทุนทางสังคม ร่วมรับรู้และหาทางแก้ไขปัญหาในทิศทางเดียวกัน จัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ เป็นโอกาสการประกอบการสังคมของชุมชนในอนาคต ส่งเสริมให้เกิดชุมชนสุขภาวะและพึ่งพาตนเองได้

SEP 10502 วิทยากรกระบวนการ
(Principle of Facilitator) 3 (1-2-6)
ศึกษาแนวคิด หลักการ การเป็นวิทยากรกระบวนการ ฝึกทักษะ สุนทรียสนทนา (Dialogue)การฟังอย่างลึกซึ้ง จัดประเด็น ตั้งคำถาม จดบนทึก สร้างการมีส่วนร่วม สร้างบรรยากาศพูดคุยอย่างไว้วางใจ ใช้เครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ ได้ เช่น ผังแสดงลำดับเวลา (Timeline)แผนที่ความคิด (Mind Map)บัตรคำ (Card) ผู้เรียนสามารถเปิดเวทีเสวนาและจัดวงสนทนาพูดคุย เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ค้นหาประเด็น/สรุปประเด็นปัญหา และแนวทางแก้ไขร่วมกันของผู้เข้าร่วม ตลอดจนก่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันของคนในชุมชนและสังคม

SEP 10503 การจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง
(Learning Process Management for Change) 3 (1-2-6)
ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี การออกแบบกระบวนการเรียนรู้ และแนวคิดการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ ประกอบกับใช้สื่อต่าง ๆ บูรณาการเข้าด้วยกัน (กำหนดวัตถุประสงค์ กิจกรรม วัน เวลา สถานที่ ผู้รับผิดชอบ การประเมินผล ฯลฯ) ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ตามกระบวนการที่ออกแบบไว้ ผลของการจัดการเรียนรู้จะสร้างการเปลี่ยนแปลงแก่ผู้เรียนและชุมชนอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งผู้เรียนสามารถออกแบบกระบวนการเรียนรู้ได้จริง ทั้งอาจเป็นวิทยากรกระบวนการในคราวเดียวกันด้วยก็ได้

SEP 10504 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเป็นผู้ประกอบการ
(Introduction to Entrepreneurship) 3 (2-1-6)
ศึกษาภาพรวมของการเป็นผู้ประกอบการ ทักษะการประกอบการพื้นฐาน ได้แก่ การบัญชี การตลาด การบริหารสินค้าคงคลัง การบริหารสภาพคล่องและเงินสด การบริหารต้นทุน กฎหมายพื้นฐานและการจดทะเบียนธุรกิจ วิสัยทัศน์และทัศนคติของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในระดับประเทศ และระดับโลกเปรียบเทียบความเหมือนและความต่างของการประกอบการของบริษัทมหาชนและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) โดยใช้การสอนแบบบูรณาการ การเรียนในห้องเรียนจากตำรา และการเรียนเชิงปฏิบัติจากผู้ประกอบการ เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจพื้นฐานของการประกอบการธุรกิจ และสามารถเห็นช่องว่างธุรกิจที่ไม่สามารถเติมเต็มได้โดยบริษัทใหญ่เพื่อการประกอบการที่ยั่งยืน

SEP 10505 กระบวนทัศน์การพัฒนาชุมชน
(Community Development Paradigms) 3 (3-0-6)
ศึกษาสถานการณ์ ปัญหา และการพัฒนาของโลกในด้าน สังคม เศรษฐกิจ การเมือง ธรรมชาติ-สิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงของโลก ของคน ในแต่ละภูมิภาคทั่วโลก โดยวิเคราะห์ถึงแก่นความคิด วิธีคิด บริบท วัฒนธรรม และปัจจัยต่าง ๆ อันเป็นกระบวนทัศน์ของสังคมในแต่ละยุคแต่ละสมัย ศึกษากระแสโลกาภิวัฒน์ และการขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงโลก ในมุมมองที่เปลี่ยนไป ตลอดจนผลกระทบทางการพัฒนาระดับชุมชน ระดับประเทศ ระดับโลก ที่ส่งผลต่อวิถีชีวิต วิถีของชุมชน และการพัฒนา ของประเทศต่างๆ ผ่านกระบวนการสืบค้น การทำงานกลุ่มเพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลการสรุปความเข้าใจถึงกระบวนการที่เปลี่ยนแปลงไป ของคน ชุมชน ประเทศและโลก ศึกษา วิเคราะห์ที่มาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-12 เพื่อให้เข้าใจกระบวนการทัศน์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความคิดและการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ในสังคมไทยและโลก

SEP 20506 การบริหารและการจัดการโครงการ
(Project Management) 3 (1-2-6)
ศึกษาความหมายของโครงการแบบทั่วไปและแบบเหตุผล สัมพันธ์ โดยนำประเด็นทางสังคมไปเป็น แรงบันดาลใจในการประกอบการ การเขียนโครงการ ส่วนประกอบของโครงการ ที่มาของโครงการ ลักษณะของโครงการที่ดี (หลักการและเหตุผล เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย แผนปฏิบัติการ แผนกำกับโครงการ เข้าใจถึงผลผลิต ผลลัพธ์ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ) การบริหารโครงการ การกำหนดตัวชี้วัดและการประเมินผลโครงการในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงรู้วิธีการเขียนโครงการเพื่อเสนอแหล่งทุนต่าง ๆ ที่ให้การสนับสนุนหรือเป็นภาคีเครือข่ายซึ่งกันและกันฝึกทักษะการเขียนโครงการตามรูปแบบการเขียน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านกระบวนการกลุ่ม ผู้เรียนมีทักษะการเขียนโครงการเพื่อขอการสนับสนุนหรือเสนอ ต่อหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนขอทุนสนับสนุน

SEP 30507 การเป็นผู้ประกอบการสังคม
(Social Entrepreneurship) 3 (2-1-6)
ศึกษาที่มา แนวคิด และความหมายของผู้ประกอบการสังคม โดยศึกษาจากกรณีตัวอย่างผู้ประกอบการสังคมในชุมชน ในประเทศ และในโลก ด้วยกระบวนการสืบค้น การทำงานกลุ่มเพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล การสรุปความเข้าใจถึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของการเป็นผู้ประกอบการสังคมและการประกอบการสังคมในรูปแบบต่างๆ ในด้านต่างๆรวมถึงแรงบันดาลใจ และคุณค่าที่แท้ของการประกอบการสังคมนั้นๆ การดำเนินงาน การจัดองค์กร การบริหารจัดการ ผลผลิต-ผลลัพธ์-ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้นี้ ผู้เรียนจะสามารถถอดบทเรียนสำคัญของภาพผู้ประกอบการสังคมต้นแบบ คุณลักษณะและทักษะของผู้ประกอบการสังคมและสามารถสังเคราะห์เชื่อมโยงกับ บริบท ปัญหาในชุมชนของคน และวิเคราะห์ตนเองได้ว่ามีทักษะใด ขาดทักษะใด เพื่อพัฒนาเป็นผู้ประกอบการสังคมต่อไป

SEP 30508 หลักบัญชีและการจัดการการเงินเบื้องต้น
(Fundamental of Accounting & Financial Management) 3 (2-1-6)
ศึกษาหลักการและโครงสร้างรายรับ-รายจ่ายและการจัดทำบัญชี การบริหารกระแสเงินสด (Cash Flow Management) การบริหารจัดการหนี้ (Account Receivable-Payable) การบริหารจัดการงบประมาณ หลักการวัดผลกำไร การจัดทำงบดุล และรายงานทางการเงินรวมถึงความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการต้นทุนและการจัดทำบัญชีครัวเรือน การลงทุนสำหรับผู้ประกอบการ การจัดหาเงินลงทุนระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว และการใช้ไปของเงินทุนในการประกอบการ เครื่องมือในการวิเคราะห์การเงิน การวางแผนการเงิน การวิเคราะห์และจัดการสินทรัพย์ต่าง ๆ และการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตามหลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น การบันทึกโครงการการเงิน โดยการเรียนรู้ผ่านใบงานต่าง ๆ ผู้เรียนสามารถใช้เครื่องมือเพื่อบริหารจัดการการเงินและทำบัญชีในการประกอบการ

SEP 30509 ธรรมมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม
(Good Governance and Social Responsibility) 3 (3-0-6)
ศึกษาความหมายและองค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อกันในทุกองค์กร ทั้งที่มีขนาดเล็กและใหญ่ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน หรือองค์กรอิสระ ตลอดจนการปฏิบัติต่อกันระหว่างประเทศ ผ่านกรณีศึกษาต่าง ๆ เพื่อให้ซึมซับและเข้าใจในหลักการที่สำคัญคือ ความโปร่งใส (Transparency) อธิบายได้ (accountability) และความรับ ผิดชอบ (responsibility) การเรียนรู้ผ่านปัญหาหรือกรณีศึกษาเกี่ยวกับหลักจริยธรรมทางธุรกิจ เข้าใจถึงความรับผิดชอบทางสังคมในบทบาทของผู้ประกอบการ ที่ไม่มุ่งหวังกำไรสูงสุดเพียงอย่างเดียวแต่คำนึงถึงบริบทและผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดแก่มนุษย์ และสรรพสิ่ง ประกอบด้วย ความรับผิดชอบอย่างพินิจพิเคราะห์ ความรับผิดชอบต่อจริยธรรม ความรับผิดชอบทางกฎหมาย และความรับผิดชอบทางเศรษฐกิจ ผู้เรียนเกิดความตระหนักรู้ในตนและสามารถวิเคราะห์ ถึงผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น นำไปปรับใช้กำหนดเป็นหลักจริยธรรมทางธุรกิจขององค์กร

SEP 40510 การนำเสนอองค์ความรู้จากผลการปฏิบัติ
(Practical Knowledge Presentation) 3 (1-2-6)
ศึกษาวิธีการถอดบทเรียน เรียบเรียงและเชื่อมโยงองค์ความรู้ที่ได้จากการลงมือปฏิบัติจริงในโครงการประกอบการสังคมของตนเองด้วยกระบวนการ การประเมินก่อนการเรียนการสอน (Before Action Review : BAR) การถอดบทเรียนหลังกิจกรรมการเรียนรู้ (After Action Review : AAR) การสะท้อนใคร่ครวญภายในตนเอง (Self Reflection) และนำเสนอเชิงประจักษ์ เช่นเขียนเอกสารการสรุปรายงานการฝึกปฏิบัติงานประกอบการสังคมตามมาตรฐานโครงสร้างการเขียนรายงาน

หมวดวิชาเฉพาะแขนง
แขนง ผู้ประกอบการสังคมด้านธุรกิจเพื่อสังคม (Social Entrepreneur for Social Business)

SEP 20601 สิทธิและความเสมอภาคทางสังคม
(Social Equality) 3 (1-4-4)
ศึกษา เรียนรู้ และวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยโดยวิธีการสำรวจพื้นที่ชุมชนเก็บข้อมูล เพื่อให้มีความเข้าใจปัญหาความเหลื่อมล้ำและนำไปสู่แนวทางการแก้ปัญหาในสังคมไทยอย่างยั่งยืน

SEP 20602 กรณีศึกษาบทเรียนการแก้ปัญหาชุมชน
(Social Solutions) 3(1-4-4)
ศึกษาวิธีการแก้ปัญหาแบบเดิมขององค์กรของรัฐและภาคเอกชนที่ไม่ประสบความสำเร็จ เพื่อนำข้อมูลมาเป็นแนวทางการศึกษา และออกแบบจัดการเรียนการสอนให้เข้าใจในการแก้ปัญหาที่ผิดพลาด
ของภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อเป็นกรณีศึกษา นำไปสู่การแก้ปัญหาที่ถูกต้องและยั่งยืน

SEP 20603 การสำรวจปัญหาที่มีผลกระทบต่อชีวิตและสังคม
(Thai Rural Phenomenon) 3(1-4-4)
ศึกษาวิเคราะห์คุณภาพชีวิตและผลกระทบที่เกิดขึ้นในชุมชนชนบท โดยการศึกษาและสำรวจปัญหาด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลมาใช้ในการกำหนดรูปแบบในการช่วยเหลือที่มั่นคงและยั่งยืน

SEP 20604 การออกแบบการพัฒนาตามแนวทางธุรกิจเพื่อสังคม
(Social Enterprise Model) 3(1-4-4)
ศึกษารูปแบบการดำเนินการด้านธุรกิจเพื่อสังคม พัฒนาและวิจัยประยุกต์การดำเนินการธุรกิจเพื่อสังคมในรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อให้ได้แนวทางในการดำเนินการธุรกิจแบบใหม่ที่ประสบความสำเร็จดียิ่งขึ้น

SEP 20605 การวิเคราะห์และเปรียบเทียบปัญหาสังคมเชิงนโยบายของภาครัฐและเอกชน (Public and Private Policy) 3 (1-4-4)
ศึกษาวิเคราะห์นโยบาย หลักแนวคิด จุดอ่อน จุดแข็ง ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาของภาครัฐและภาคเอกชนที่ดำเนินการแล้วไม่ประสบความสำเร็จ เช่น การช่วยเหลือแบบสังคมสงเคราะห์ แบบให้เปล่า เพื่อนำไปสู่แนวทางในการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน

SEP 30606 การพัฒนารูปแบบเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคม
(Social Entrepreneurship Network) 3 (1-4-4)
ศึกษากระบวนการรูปแบบเครือข่าย และสร้างทักษะการประสานงานในการประกอบธุรกิจเพื่อสังคมสามารถสร้างเครือข่ายธุรกิจเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรและสังคมที่ยั่งยืน

SEP 30607 การประกอบธุรกิจเพื่อสังคมแบบองค์รวม
(Social Entrepreneurship and Local Institution Integration) 3 (1-4-4)
ศึกษาให้ความรู้ด้านการประกอบอาชีพธุรกิจ การส่งเสริมอาชีพ การอบรมให้ความรู้ การเข้าถึงแหล่งทุนเงินกู้ในระบบปกติที่เป็นธรรม โดยเน้นที่การประกอบธุรกิจแบบมีส่วนร่วมโดยมีสถาบันท้องถิ่นเป็นฐาน เช่น ชุมชน โรงเรียน วัด สถานีอนามัย และสถานีตำรวจเป็นศูนย์กลางการพัฒนา เพื่อพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้มีคุณภาพและยั่งยืน

SEP 30608 การวิจัยและพัฒนารูปแบบธุรกิจเพื่อสังคม
(Social Entrepreneurship incubator and practicum I) 3 (1-4-4)
ศึกษาและสำรวจ วิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ด้านการประกอบธุรกิจเพื่อสังคม เพื่อเป็น
ศูนย์เรียนรู้และศึกษาดูงานให้กับชุมชนและบุคคลทั่วไปที่สนใจนำไปเป็นแนวทางในการประกอบธุรกิจเพื่อสังคม

SEP 40608 การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง
(Learning Process on Self Development and Transformation) 3 (1-4-4)
ศึกษาทักษะกระบวนการในการดำเนินงาน การสื่อสาร การประสานงาน มนุษยสัมพันธ์ที่ดี มารยาททางสังคม ในชุมชนเพื่อจัดทำแหล่งเรียนรู้ การเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม ผ่านการอบรม ศึกษาดูงาน เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติงานในการประกอบธุรกิจเพื่อสังคม

SEP 40609 ฝึกประสบการณ์การพัฒนาคุณภาพชีวิตและรายได้ในชุมชน
(Social Entrepreneurship incubator and practicum II) 3 (1-4-4)
ฝึกปฏิบัติในการช่วยเหลือสังคม ผ่านบทเรียนโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและรายได้โดยการส่งเสริมสร้างอาชีพ สร้างแหล่งเรียนรู้ให้องค์กรหลักในชุมชน เช่น โรงเรียน วัด สถานีอนามัย สถานีตำรวจ เรือนจำ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ดูงาน และช่วยให้องค์กรเหล่านั้นมีธุรกิจเกษตรเป็นของตนเอง สามารถพึ่งพาตนเองได้

แขนง ผู้ประกอบการสังคมด้านศิลปะการละคร(Social Entrepreneur of Performing Art)

SEP 20611 ประวัติศาสตร์ละครตะวันตก
(Western Drama History) 3 (3-0-6)
ศึกษาประวัติศาสตร์ละครตะวันตกโดยศึกษาภาพรวมประวัติศาสตร์ตะวันตกตั้งแต่ยุคกรีกโบราณจนถึงปัจจุบัน ทั้งปรัชญา ศาสนา ความเชื่อ การเมือง เศรษฐกิจและความสัมพันธ์ของปัญหาในแต่ละยุคสมัย วิเคราะห์เชื่อมโยงกับบทละครตะวันตกแต่ละยุคสมัยและบทละครคลาสสิคเพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจความสัมพันธ์ของประวัติศาสตร์ที่ส่งผลต่อบทละครสามารถนำไปประยุกต์วิเคราะห์ปัญหาสังคมได้ และเป็นพื้นฐานสำหรับการผลิตละครเพื่อประสานสังคมร่วมสมัย

SEP 20612 ละครกระบวนการเพื่อประสานสังคม
(Process Theater for Social Collaboration) 3 (1-4-4)
ศึกษาขั้นตอนการผลิตละครกระบวนการ ตั้งแต่การจัดทำโครงการ วัตถุประสงค์ การสร้างเรื่อง การเลือกกลุ่มเป้าหมาย การประสานหน่วยงานภาคี การดำเนินโครงการ จนถึงการจัดละคร ด้วยการฝึกปฏิบัติจริง และสามารถประสานสังคมหรือชุมชนต่างๆให้เกิดความเข้าใจอันดีจากประเด็นเนื้อหาได้ โดยเน้นที่เนื้อหาของสังคมที่มีความแตกต่างกันสูงในบริบทชุมชน วัฒนธรรม ศาสนา และ ชาติพันธุ์

SEP 20613 พุทธศาสนาและเป้าหมายของการอยู่ร่วม
(Harmonizing from Buddhism Perspective) 3 (3-0-6)
ศึกษาพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า นิทานชาดก และหลักธรรมที่สำคัญ เช่น อริยสัจสี่ กาลามสูตร เป็นพื้นฐานในการมองสังคม เชื่อมโยงเปรียบเทียบแนวคิดและวิธีการของศาสนาต่างๆ ร่วมหาความเหมือน ความต่าง และแนวทางการอยู่ร่วม เพื่อให้ผู้เรียนได้เห็นความสำคัญของการอยู่ร่วมกันของผู้คนในสังคมที่มีความเชื่อแตกต่างกัน และสามารถใช้หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหา แก้ปัญหา และเป็นฐานรากของการสร้างเรื่องราวของละครประสานสังคมร่วมสมัย

SEP 20614 ละครเวทีสัญจรเพื่อการศึกษา
(Touring Theatre for Education) 3 (1-4-4)
ศึกษาประวัติศาสตร์ และพัฒนาการการสร้างละครเวทีสัญจรเพื่อการศึกษาของคณะละครมรดกใหม่ และผลิตละครเวทีสัญจรเพื่อการศึกษาโดยเลือกจากเนื้อหาสาระการเรียนรู้ระดับมัธยมที่น่าสนใจ 1 เรื่อง จัดแสดงจริงในโรงเรียนขยายโอกาส เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการผลิตละครเวทีสัญจรเพื่อการศึกษาเต็มรูปแบบ และสามารถวิเคราะห์บทเรียนตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษากับความต้องการที่แท้จริงของนักเรียนเพื่อนำมาผลิตละครอย่างสร้างสรรค์และส่งเสริมความเข้าใจเนื้อหาตามหลักสูตรให้แก่นักเรียนได้

SEP 30615 ประวัติศาสตร์ละครไทย
(Thai Drama History) 3 (1-2-6)
ศึกษาพัฒนาการละครไทย ทั้งพื้นบ้านและราชสำนักตั้งแต่อยุธยาจนถึงปัจจุบันโดยเน้นวรรณกรรมละครตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 จนถึงบทละครที่สะท้อนแนวคิดสังคมและการเมืองในปัจจุบัน วิเคราะห์เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดละครและผลกระทบจากละครที่มีต่อสังคม กับเหตุการณ์ในสังคมในช่วงเวลาต่าง ๆ ทดลองเล่นละครไทยรูปแบบต่างๆ เช่น ละครชาตรี ละครนอก ละครในเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจความสัมพันธ์ของประวัติศาสตร์ที่ส่งผลต่อบทละครสามารถนำไปประยุกต์วิเคราะห์ปัญหาสังคมได้ และเป็นพื้นฐานสำหรับการผลิตละครเพื่อประสานสังคมร่วมสมัย

SEP 30616 ละครชุมชน
(Community Theatre) 3 (1-4-4)
ศึกษาวิธีการผลิตละครชุมชน ใช้รูปแบบละครแบบผสมผสาน เพื่อเลือกรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการเล่าเรื่องปัญหาแต่ละชุมชน ศึกษาวิธีสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชน ส่งเสริมให้ชุมชนเป็นผู้ร่วมจัดละคร และศึกษาการสร้างบทละครจากบริบทปัญหาของชุมชน โดยลงพื้นที่จริงแล้วสร้างสถานการณ์จำลองให้นักศึกษาเป็นผู้เผชิญปัญหาชุมชนนั้น ๆ เพื่อเรียนรู้ปัญหาจากการจำลองเป็นคนในชุมชน วิเคราะห์บริบทปัญหาและสร้างสมมุติฐานความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหาเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการและสามารถผลิตละครชุมชนได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถประสานสังคมหรือสมาชิกในชุมชนให้เกิดความเข้าใจอันดีจากประเด็นเนื้อหาที่นำเสนอโดยเน้นที่ชุมชนศูนย์กลาง

SEP 30617 การจัดการเทศกาลละครนานาชาติและเครือข่ายละคร
(Theatre Festival Management and Network) 3 (1-4-4)
ศึกษาวิธีการจัดเทศกาลละครนานาชาติ เป้าหมาย วิธีการ อุปสรรค และผลกระทบ รวมทั้งศึกษาการสร้างเครือข่ายละคร ทั้งภาคีที่เป็นศิลปิน และภาคีที่เป็นภาคส่วนของท้องถิ่นการปกครอง เชื่อมโยงเครือข่ายให้สอดคล้องสัมพันธ์กับเทศกาลละครนานาชาติ ปฏิบัติการร่วมจัดเทศกาลละครนานาชาติ โดยมีเครือข่ายละครร่วมงานเทศกาลจริง เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกและเรียนรู้การเป็นผู้จัดเทศกาลละครนานาชาติโดยตรง และสามารถดำเนินงานให้สำเร็จลุล่วงได้ เกิดความร่วมมือระหว่างเครือข่ายและภาคีต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ

SEP 30618 การสร้างชุมชนละคร
(Community Theatre Establishment) 3 (1-4-4)
ศึกษาประวัติศาสตร์การสร้างทางเลือก โดนเน้นที่ชุมชนศิลปะ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน คัดเลือกกลุ่มชุมชนที่มีความน่าสนใจมาเป็นกรณีศึกษา เรียนรู้รูปแบบการจัดการองค์กร การก่อตั้ง ปัญหา อุปสรรค และเนื้อหาสาระของชุมชน ทดลองออกแบบชุมชนละคร และทดลองใช้ชีวิตในชุมชนละครเพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจวิธีการ และลงมือสร้างชุมชนละครของตนเองหรือ ร่วมสร้างกับภาคีที่เกี่ยวข้อง

SE 40619 ปรัชญาวิทยาศาสตร์กับพุทธศาสนา
(Science and Buddhism) 3 (3-0-6)
ศึกษาแนวคิดเรื่องการหาความจริงและการพิสูจน์หาความจริงด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เปรียบเทียบกับหลักอริยสัจสี่ของพระพุทธศาสนา จากนักปรัชญาตะวันตกและพระสุตตันตปิฎก เพื่อให้นักศึกษานำไปประยุกต์หาความทุกข์ หรือ ปัญหา ที่เกิดขึ้นในสังคมและชุมชน พัฒนาสู่การเตรียมข้อมูล สำหรับการสร้างบทละครรูปแบบต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาสังคมและชุมชนและการทำวิจัยชุมชน

SEP 40620 สื่อผสมสำหรับละครกระบวนการ
(Mixed Media for Process Theatre) 3 (3-0-6)
ศึกษาลักษณะเฉพาะของสื่อชนิดต่างๆ ทั้งสื่อทางนิเทศศาสตร์ ทัศนศิลป์ วิจิตรศิลป์ วรรณกรรม บทกวี ดนตรี และภาพยนตร์ เพื่อนำมาจัดวางเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบละคร ศึกษาการข้ามสื่อและผลกระทบทางการสื่อสารเมื่อนำสื่อแต่ละชนิดมาใช้ร่วมกันในพื้นที่เดียวกัน เพื่อให้นักศึกษาได้เลือกใช้สื่อชนิดต่างๆได้ถูกต้องกับรูปแบบละคร และกระบวนการละครที่สัมพันธ์กับพื้นที่ชุมชน และ สังคมนั้นๆ

แขนง ผู้ประกอบการด้านสุขภาพตามหลักแพทย์วืถีธรรม(Social Entrepreneur of Doctrine of Buddhism Base)

SEP 20621 หลักการแพทย์วิถีธรรม
(Principle of Dharma Medicine) 3 (3-0-6)
ศึกษาความหมาย ความสำคัญของการแพทย์วิถีธรรม ประวัติความเป็นมาของการแพทย์วิถีธรรม สาเหตุการเกิดโรค กลไกการเกิดและการหายของโรค การแบ่งกลุ่มอาการของโรค สูตรการปรับสมดุลตามหลักการแพทย์วิถีธรรม และหลักการปฏิบัติการดูแลสุขภาพ 9 ข้อ เพื่อให้มีความรู้หลักการแพทย์วิถีธรรม

SEP 20622 กฎหมายสาธารณสุข
(Health Law) 3 (3-0-6)
ศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2550 พระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 เพื่อให้มีความรู้เรื่องกฎหมายสาธารณสุข

SEP 20623 อาหารและเครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อปรับสมดุลสุขภาพ
(Food and Herbal Drink for Health Balance) 3 (3-0-6)
ศึกษาความหมาย ความสำคัญของกลไกการทำให้สุขภาพดี ด้วย การรับประทานอาหารและเครื่องดื่มสมุนไพรตามหลักแพทย์วิถีธรรม การแยกวัตถุดิบ จำแนกสรรพคุณ และข้อควรระมัดระวังของอาหารและเครื่องดื่มสมุนไพรฤทธิ์ร้อนฤทธิ์เย็น รวมทั้งการประกอบอาหารและเครื่องดื่มสมุนไพรฤทธิ์ร้อนฤทธิ์เย็น และฝึกปฏิบัติการประกอบอาหารและเครื่องดื่มสมุนไพรฤทธิ์ร้อนฤทธิ์เย็น การรับประทานอาหารปรับสมดุลตามหลักแพทย์วิถีธรรม เพื่อให้มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อปรับสมดุลสุขภาพ

SEP 20624 การระบายพิษให้ตนเองเพื่อปรับสมดุลสุขภาพ
(Self Detoxification for Health Balance) 3 (3-0-6)
ศึกษาความหมาย ความสำคัญ และข้อควรระวังของการระบายพิษให้ตนเอง ซึ่งมีวิธีการที่หลากหลาย ได้แก่ การกัวซา (การขูดพิษ) ที่ผิวหนัง การสวนล้างพิษออกจากลำไส้ใหญ่เพื่อให้ผู้เรียนรู้หลักการการระบายพิษด้วยการกัวซา (การขูดพิษ) ที่ผิวหนัง การสวนล้างพิษออกเพื่อปรับสมดุลสุขภาพ และสามารถทำกัวซา และสวนล้างพิษออกจากลำไส้ใหญ่กับตนเองได้

SEP 30625 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐาน
(Fundamental of Anatomy and Physiology) 3 (3-0-6)
ศึกษารูปร่าง ลักษณะโครงสร้าง ส่วนประกอบ และหน้าที่การทำงานของเซลล์ ที่ประกอบ
เป็นอวัยวะต่าง ๆ ในภาวะปกติและไม่ปกติ ฝึกการระบุตำแหน่งและหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐาน และสามารถระบุตำแหน่งและหน้าที่ของอวัยวะที่สำคัญได้

SEP 30626 ถอดรหัสสุขภาพตามหลักพุทธธรรม
(Health Decoder in accordance with Buddhist Moral Code) 3 (3-0-6)
ศึกษาความหมาย ความสำคัญของการถอดรหัสสุขภาพ ตามหลักนิยาม 5 หลักปฏิจจสมุปบาท อาพาธสูตร สังคีติสูตร สิวกสูตร จูฬกัมมวิภังคสูตร อนายุสสสูตร กกจูปมสูตร เพื่อให้มีความรู้เรื่องการถอดรหัสสุขภาพ ทราบสาเหตุการเกิด การหายของโรคตามหลักพุทธธรรม รวมทั้งวิเคราะห์สาเหตุของโรคในตนเองได้ตามหลักพุทธธรรม

SEP 30627 การออกกำลังกายเพื่อปรับสมดุลสุขภาพ
(Exercise for Health Balance) 3 (3-0-6)
ศึกษาความหมาย ความสำคัญของการออกกำลังกาย ประโยชน์และข้อควรระมัดระวัง ฝึกปฏิบัติ การเดินเร็ว โยคะ กายบริหาร การกดจุดลมปราณ และการฝึกลมหายใจเพื่อสุขภาพให้เรียนรู้การออกกำลังกายเพื่อปรับสมดุลสุขภาพ และฝึกปฏิบัติการเดินเร็ว โยคะ กายบริหาร การกดจุดลมปราณเพื่อปรับสมดุลสุขภาพของตนเอง

SEP 30628 ธรรมโอสถ
(Dharma for Health) 3 (2-1-6)
ศึกษาความหมาย ความสำคัญของธรรมโอสถ กลไกการทำให้สุขภาพดีด้วยการใช้ธรรมะ ละบาป บำเพ็ญบุญกุศล ทำจิตใจให้ผ่องใส คบมิตรดี และสร้างสังคมสิ่งแวดล้อมที่ดี เทคนิคการลดละเลิกการติดในสิ่งที่เป็นพิษ และการเข้าถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์ด้วยจิตที่เป็นสุข เทคนิคการทำใจให้หายจากโรคโดยเร็ว เทคนิคการทำดีอย่างมีสุข กิจนิสัยในการทำงาน เจตคติที่ดีและคุณธรรมในการพึ่งตนและช่วยเหลือผู้อื่น กลไกการทำให้สุขภาพดีของการใช้การรู้เพียรรู้พักให้พอดีตามหลักการแพทย์วิถีธรรม ฝึกปฏิบัติการใช้ธรรมโอสถในชีวิตประจำวัน เพื่อให้มีความรู้และทักษะในการใช้ธรรมโอสถสู่ความผาสุกอย่างยั่งยืน

SEP 40629 การฝึกประสบการณ์จิตอาสาแพทย์วิถีธรรม 1
(Professional Experience for-Dharma Medicine Volunteers I) 3 (0-3-6)
ฝึกปฏิบัติการดูแลสุขภาพตนเองแบบพึ่งตน ประหยัด เรียบง่าย และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น ตามแนวทางการแพทย์วิถีธรรม ฝึกการทำงานจิตอาสาร่วมกับกลุ่มด้วยความเสียสละ อ่อนน้อม ถ่อมตนและแบ่งปันเพื่อส่วนรวม ตามฐานงานต่าง ๆ ในค่ายสุขภาพของเครือข่ายแพทย์วิถีธรรม และฝึกทำรายงานสรุปงาน สรุปกาย สรุปศีล เพื่อให้เกิดทักษะการเป็นจิตอาสาแพทย์วิถีธรรม ด้วยจิตใจที่เบิกบานและผาสุก

SEP 40630 การฝึกประสบการณ์จิตอาสาแพทย์วิถีธรรม 2
(Professional Experience for-Dharma Medicine Volunteers II ) 3 (0-3-6)
ฝึกปฏิบัติการดูแลสุขภาพตนเองแบบพึ่งตน ประหยัด เรียบง่าย และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น ตามแนวทางการแพทย์วิถีธรรม ฝึกการทำงานจิตอาสาร่วมกับหมู่กลุ่มด้วยความเสียสละ อ่อนน้อมถ่อมตนและแบ่งปัน ฝึกรับผิดชอบฐานงานหลัก ภายใต้ความดูแลจากผู้ที่ได้รับมอบหมายตามฐานงานต่าง ๆ ในค่ายสุขภาพของเครือข่ายแพทย์วิถีธรรม ฝึกทำรายงานสรุปงาน สรุปกาย สรุปศีล ฝึกแลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่อที่ประชุม ต่อหน้าเวทีสาธารณะ และฝึกเขียนรายงานกรณีศึกษาการให้คำแนะนำด้านสุขภาพด้วยการแพทย์วิถีธรรม เพื่อเป็นจิตอาสาแพทย์วิถีธรรมที่พร้อมรับใช้สังคม

แขนง การประกอบการสังคมเพื่อชุมชน (Social Enterprise for Community)

SEP 20631 พุทธเศรษฐศาสตร์
(Buddhist Economics) 3 (1-2-6)
ศึกษาแนวคิดหลักเศรษฐศาสตร์พื้นฐานที่เชื่อมโยงกับแก่นธรรมทางพุทธศาสนาจากตัวอย่างต้นแบบ ได้แก่ แนวคิดและการดำเนินการสร้างและขับเคลื่อนขบวนบุญวัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม (จ.เชียงใหม่) พร้อมเรียนรู้หลักการและการดำเนินการของบุญนิยม ได้แก่ พุทธเศรษฐศาสตร์ในชุมชนอโศก เครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษอโศก / กลุ่มแพทย์วิถีธรรม โดยศึกษาจากผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญของเครือข่ายพร้อมฝึกปฏิบัติการตามวิถีของเครือข่าย และ“เลือกรับ ปรับใช้” นำสิ่งที่เรียนรู้ไปประยุกต์และทดลองทำอย่างสอดคล้องกับบริบทและงานของตน พร้อมใคร่ครวญในตนเองแล้วสะท้อนแลกเปลี่ยนในวงสนทนา ส่งผลให้เข้าใจแนวคิด ขบวนบุญ บุญนิยม แล้วนำมาประยุกต์ใช้ และ/หรือ พัฒนากับงานและการประกอบการสังคมของตนเองได้

SEP 20632 พระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9
(Royal Initiative of King Rama IX) 3 (1-2-6)
ศึกษาความหมาย ความสำคัญ การก่อเกิดแนวคิดในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 อันนำมาสู่หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ศึกษาตัวอย่างต้นแบบตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยศึกษาถึงแรงบันดาลใจ วัตถุประสงค์ คุณค่าการจัดตั้งและออกแบบโครงการ วิธีการบริหารและดำเนินงานองค์ประกอบต่างๆ ผลการดำเนินงานทั้งผลผลิตที่เกิดขึ้น ผลลัพธ์ที่ได้ และผลกระทบที่ทรงคุณค่าแก่ชุมชน สังคม และโลก ตัวอย่างต้นแบบ เช่น มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ฯลฯ ผสานกับการศึกษาแนวคิดทฤษฎีใหม่ ตามพระราชดำริ รัชกาลที่ 9 บูรณาการไปสู่การพึ่งพาตัวเองแบบพอเพียง แบ่งปันเกื้อกูลกันและกัน ทำให้เกิดความเพียงพอร่วมกัน และพัฒนาอย่างต่อเนื่องยั่งยืน นำมาใช้ในชีวิตและงานของตนได้

SEP 20633 ปฏิบัติการเศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐาน (ข้าว-ผ้า-ยา-บ้าน)
(Fundamental on Sufficient Economic) 3 (0-9-0)
ฝึกปฏิบัติการนำทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐาน “ 4 พอ คือ พอกิน – พอใช้ – พออยู่ – พอร่มเย็น” ไปประยุกต์ปฏิบัติออกมาเป็นรูปธรรมของปัจจัย 4 ของชีวิต ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย “ข้าว – ผ้า – ยา – บ้าน” เพื่อการพึ่งพาตนเองและอยู่ได้อย่างพอเพียงตามวิถีชุมชนของตน โดยเรียนรู้ผ่านประสบการณ์การทำงานจริงในการอยู่ในชุมชนด้วยตนเองได้อย่างร่มเย็นสามารถนำหลักการและเครื่องมือมาวิเคราะห์บริบทของชุมชนในพื้นที่ปฏิบัติการสร้างความเข้าใจกับชุมชนในพื้นที่ปฏิบัติการรวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง

SEP 20634 การพัฒนากระบวนการคิด-พูด-เขียน-อ่าน อ่าน
(Thinking Process and Communication) 3 (2-1-6)
ศึกษาเรื่องสมอง – ชีวิตและกระบวนการคิด โดยใช้เครื่องมือ 6 Hats Thinking (ของ เอ็ดเวอร์ด เดอ โบโน่), Design Thinking, Lateral Thinking, Creativity skill ฯลฯ เพื่อให้เกิดการปรับกระบวนการทัศน์ในตนเอง ฝึกทักษะการคิดแบบต่างๆ เช่น คิดเชิงระบบ คิดนอกกรอบ คิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ ฯลฯ เพื่อพัฒนาผู้เรียนในการคิดเป็น คิดถูก คิดดี คิดได้ และสามารถที่จะนำเสนอความคิดเป็นภาพ เป็นรูปธรรมผ่านการพูด การเขียน การทำ พร้อมกับการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องด้วยการสืบค้นการอ่าน ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการคิด-พูด-เขียน-อ่าน มากขึ้น และสามารถถ่ายทอดความรู้ความคิดอย่างมีขั้นตอน สมเหตุสมผล และเกิดผลจริงอย่างมีคุณภาพ

SEP 20635 จิตตปัญญาสิกขา
(Contemplative Education) 3 (2-1-6)
ศึกษาการพัฒนาตนเองในด้านการเรียนรู้ภายใน การเรียนรู้ผ่านใจ การแยกความรู้สึกกับความนึกคิดมองและเห็นความรู้ความคิดที่ก่อเกิด สามารถใคร่ครวญทบทวน มอง ณ ปัจจุบัน และย้อนสรุปได้ใน “1ทำ 4ความ” ผ่านเครื่องมือทางจิตตปัญญาต่างๆ ที่ให้เรียนรู้จากความจริงผ่านความงามเห็นคุณค่ามองเห็นและก่อเกิดความดี โดยศึกษาจากการปฏิบัติ การทำงานศิลปะ กิจกรรมเชิงสุนทรียะ การเป็นอาสาสมัครเพื่อสังคม การเรียนรู้จากธรรมชาติ การปฏิบัติโยคะ จิตตภาวนา สุนทรียสนทนา ฯลฯ ผู้เรียนจะได้พัฒนาด้านในของตนเองเพื่อให้เกิดการรู้ตัวและการเข้าถึงความจริง มีความเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงในกรอบของไตรสิกขา และไตรลักษณ์อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น เป็นผู้สะท้อนการเปลี่ยนแปลงภายในตนเองรวมทั้งสะท้อนออกมาจากภายนอก ผ่านความคิดการพูดพฤติกรรม และงานที่ทำ เปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับโลกและผู้อื่นเป็นความเข้าใจสรรพสิ่งอย่างที่เป็น

SEP 20636 อาสาสมัครเพื่อสังคม
(Social Voluntary Community Empowerment) 3 (1-4-4)
ศึกษาความหมายของคำว่ากระบวนทัศน์ อันนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพัฒนาในสังคมและโลก ผลกระทบของการพัฒนาต่อชีวิตคนและวิถีของชุมชน ศึกษาทางเลือกกระบวนการพัฒนาเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน ศึกษาแนวคิดจิตสาธารณะ งานอาสาสมัครเพื่อสังคม ผ่านต้นแบบที่เป็นบุคคล องค์กร เครือข่ายต่างๆ โดยไปเรียนรู้และสร้างประสบการณ์ผ่านงานนั้นๆ แล้วออกแบบ / สร้าง / พัฒนา งานอาสาสมัครเพื่อสังคมของตนเองหรือกลุ่มของตน โดยสามารถอธิบายกระบวนทัศน์หรือวิธีคิดของตนเองในการเปลี่ยนแปลงพัฒนาชุมชนได้อย่างเข้าใจและเป็นระบบ

SEP 20637 การบริหารการจัดการพื้นที่ป่าต้นน้ำตามศาสตร์พระราชา(โคก-หนอง-นา โมเดล) (Watershed Management) 3 (2-1-6)
ศึกษาทฤษฎีการบริหารจัดการพื้นที่ป่าต้นน้ำตามศาสตร์พระราชา เพื่อให้เข้าใจการบริหารจัดการ คนและชุมชน – ต้นน้ำ – ผืนป่า ให้อยู่ร่วมกันและพึ่งพากันได้อย่างร่มเย็นและยั่งยืน โดยศึกษาจากต้นแบบตัวอย่างความสำเร็จ พร้อมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการผ่านรูปแบบการบริหารจัดการพื้นที่แบบต่างๆ รวมทั้งฝึกทักษะการสังเกตสิ่งต่างๆในธรรมชาติทั้งใกล้และไกล ฝึกเปลี่ยนเป็นการมองตรงจากความจริง ที่ช่วยสะท้อนถึงรูปแบบของความคิดการตรึกตรองการไต่สวน ฝึกป้อนตัวรู้ตั้งคำถามหาคำตอบ และตัดสินใจบนฐานของความจริง ฝึกการเก็บข้อมูลโดยการวาดรูป บันทึกภาพ เขียน ประมวลความรู้และความรู้สึกที่เข้าถึงธรรมชาติ ผู้เรียนจะเข้าใจในเรื่องของความสมดุลย์ในโลกธรรมชาติและสรรพสิ่ง ณ ปัจจุบัน เห็น เข้าใจ และรับรู้ บทบาทหน้าที่ของสรรพสิ่งในธรรมชาติที่เกื้อกูลกัน ได้เพิ่มพูนความรู้และมีกรอบปฏิบัติการที่ถูกต้องตรงทางและอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้

SEP 20638 ปฏิบัติการเศรษฐกิจพอเพียงขั้นก้าวหน้า
(Advance Sufficient Economics) 3 (0-9-0)
ฝึกปฏิบัติการนำทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงขั้นก้าวหน้า 5 ขั้น (ทำบุญ – ทำทาน – แปรรูป + เก็บรักษา –ขาย – สร้างเครือข่าย) ไปประยุกต์ออกแบบ สร้างโมเดลประกอบการสังคมของตนเองหรือกลุ่มของตน เพื่อให้เกิดงานที่ยังประโยชน์แก่ตน ชุมชน และสังคม และเป็นการหนุนเสริมการขับเคลื่อนขบวนบุญของวัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม โดยเรียนรู้ผ่านประสบการณ์การทำงานจริงในโครงการการประกอบการสังคมของจนเองในชุมชนที่เป็นพื้นที่ปฏิบัติการของตน ปฏิบัติการตามแผนและขั้นตอนที่วางไว้ ต้องวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประยุกต์ ความรู้ทางด้านเศรษฐกิจพอเพียงและการประกอบการสังคมมาพัฒนาใช้กับสถานการณ์จริง สามารถเขียนรายงานการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์การทำงานจริง และแลกเปลี่ยน แบ่งปัน ความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์ของตนในชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอ

SEP 20639 ธรรมะพัฒนาปัญญา
(Principle of Buddhism) 3 (2-1-6)
ศึกษาอริยสัจ 4 และไตรลักษณ์ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หรือความหมายของศาสนาอื่นๆ ที่ผู้เรียนนับถือศรัทธาโดยศึกษาปัจจัยและวิธีการปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงสภาวะของผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รวมถึงวิธีเปลี่ยนความเห็นด้วยตนเอง โดยการสนทนาธรรมฝึกให้ฟังเป็น สังเกตเป็น ถามเป็น ตอบเป็น สรุปเป็น และสะท้อน / สื่อสารเป็น เพื่อจะได้รู้เท่ารู้ทันตามความเป็นจริง และสร้างสัมมาทิฐิ อันนำไปสู่การพัฒนาตนของผู้เรียนในการเห็นถูก ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถนำหลักธรรมคำสั่งสอนทางศาสนามาประยุกต์ใช้ในชีวิต งาน และสังคม

SEP 30640 การฝึกและการสอนงาน
(Coaching Skills) 3 (1-4-4)
ศึกษาวิธีการฝึกฝน Coach ตนเอง ที่เป็นการระเบิดจากภายใน ทำให้เห็นหรือสร้างแรงบันดาลใจของตนเอง เห็นคุณค่าในตนเอง เห็นความหมายของชีวิต พร้อมทั้งสามารถพัฒนาต่อยอดสู่การฝึกฝนและสอนงาน Coach ผู้อื่น บนฐานศักยภาพและความถนัดของผู้นั้น เพื่อสร้างพลังและสามารถจัดการกับความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น ผิดหวัง ท้อแท้ ดีใจ ฯลฯ สามารถเรียนรู้จากอุปสรรคและความล้มเหลว แล้วนำมาเป็นบทเรียนเพื่อก้าวต่อไป

แขนง ผู้ประกอบการสังคมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง (Social Enterprise with Philosophy of Sufficiency Economic)

SEP 20641 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(Philosophy of Sufficient Economy) 3 (3-0-6)
ประวัติศาสตร์การพัฒนาทางเศรษฐกิจของโลก มุ่งศึกษาปรัชญาเปรียบเทียบเศรษฐกิจการค้า เศรษฐกิจสังคมนิยมและเศรษฐกิจพอเพียงกับความเหมาะสมของภูมิ-สังคมไทย ความแตกต่างของหลักคิดทั้ง 3 ปรัชญา ซึ่งส่งผลต่อ ทฤษฎี วิธีปฏิบัติ เทคนิคและนวัตกรรม และวิธีบริหารจัดการที่แตกต่างกัน การแปลงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติด้วยทฤษฎีบันได 9 ขั้นสู่ความพอเพียง เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงหลักคิดสำคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามารถวิเคราะห์แยกแยะความแตกต่างของการพัฒนาภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจการค้า เศรษฐกิจชุมชนนิยมกับเศรษฐกิจพอเพียง นำมาปรับใช้กับการเลือกตัดสินใจในการดำเนินชีวิตภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

SEP 20642 การฟื้นฟูและจัดการดิน
(Reactivation and Arrangement of Soil) 3 (1-4-4)
ศึกษาและทำความเข้าใจดินแต่ละชนิด ที่มีโครงสร้างที่แตกต่างกัน ส่วนประกอบของดินที่สำคัญและส่งผลต่อการเพาะปลูกพืชตามหลักกสิกรรมธรรมชาติคือความชื้น อินทรีย์สารและสิ่งมีชีวิตในดิน การฟื้นฟูดินด้วยหลักกสิกรรมธรรมชาติโดยการรักษาความชื้นในดิน เพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ในดินและรักษาความสมดุลของดินให้เหมาะสมต่อการเติบโตของพืช เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญที่สุดคือ “ดิน” ตลอดจนเทคนิคการฟื้นฟูดิน มองเห็นความสัมพันธ์เชิงระบบระหว่างพฤติกรรมของมนุษย์กับระบบนิเวศอาหารและสมดุลของโลก สามารถเพาะปลูกพืชอาหารได้ด้วยตนเอง

SEP 20643 การฟื้นฟูและจัดการป่า
(Reactivation and Arrangement of Forest) 3 (1-4-4)
ศึกษาและเรียนรู้การปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง โดยสร้างความสมดุลของระบบนิเวศให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคน สัตว์ และแมลงต่างๆ เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศให้สมดุล คงความหลากหลายทางพันธุกรรมพืชไว้ด้วยไม้ต่างระดับกันอย่างน้อย 5 ระดับ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการปรุงอาหาร ทำยารักษาโรค ทำเครื่องเรือน เครื่องใช้ สร้างบ้านและสร้างความร่มเย็นให้กับโลก เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงความสำคัญของต้นไม้และระบบนิเวศที่สมดุลของต้นไม้ที่แตกต่างจากระบบพืชเชิงเดี่ยว ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ของมนุษย์กับป่าไม้ซึ่งเป็นระบบนิเวศอาหารที่สำคัญที่จะสามารถรักษาสมดุลของโลกไว้ได้

SEP 20644 การฟื้นฟูและจัดการน้ำ
(Reactivation and Arrangement of Water) 3 (1-4-4)
ศึกษาวัฎจักรของน้ำตามธรรมชาติที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของคนไทยซึ่งเป็นวิถีชาวน้ำมาแต่สมัยโบราณ คนอยู่ร่วมกับธรรมชาติของน้ำและสร้างอารยธรรมขึ้นโดยอาศัยปฏิทินทางจันทรคติเป็นตัวกำหนดวิถีชีวิต การฟื้นฟูน้ำทำได้โดยการบำบัดด้วยระบบการจัดการน้ำแบบ Constructed Wet Land การใช้พืชน้ำบำบัดและกังหันชัยพัฒนา การใช้ระเบิดจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงระบบนิเวศของน้ำและการฟื้นฟูและบำบัดน้ำด้วยตนเอง เห็นคุณค่าและความสัมพันธ์ของน้ำกับระบบนิเวศอาหารและสมดุลของโลก

SEP 20645 ทางรอดในโลกวิกฤต
(Crisis Management and Solution) 3 (3-0-6)
วิกฤตการณ์โลกในอนาคต จากประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ภาวะขาดแคลนน้ำ อาหารและพลังงาน เรียนรู้คำเตือนจาก ส.ค.ส.พระราชทานปี 2547 ถึงระเบิด 4 ลูก ฝึกตนสำหรับการ สู้ อยู่ หนีในสถานการณ์ภาวะวิกฤต (CMS : Crisis Management and Survival Camp) และทางรอดจากวิกฤตด้วยการฟื้นฟูดินน้ำป่า สร้างความพอเพียงขั้นพื้นฐานตามหลัก 4 พอ (พอกิน พออยู่ พอใช้ พอร่มเย็น) ซึ่งเป็นเศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐานจากทฤษฎีบันได 9 ขั้นสู่ความพอเพียง เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงสถานการณ์ของโลกในปัจจุบันแม้ยังไม่ได้รับผลกระทบถึงชีวิตประจำวันในปัจจุบัน เพื่อวางแผนรองรับวิกฤตการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต มีสติ รู้ตน มีความสามารถในการเผชิญสถานการณ์วิกฤตได้อย่างมีสติ พร้อมระมัดระวังและใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนโลกมากเกินไป

SEP 20646 การสร้างความพอเพียงขั้นพื้นฐาน 1 ด้านความมั่นคงทางอาหาร
(Creating Basic Sufficiency I for food sustainable) 3 (1-4-4)
ฝึกปฏิบัติสร้างความพอกินขั้นพื้นฐานด้วยการปลูกข้าวอินทรีย์ตามหลักกสิกรรมธรรมชาติ (ฅนรักษ์แม่โพสพ) และการเพาะเห็ดในธรรมชาติ (ฅนหัวเห็ด) โดยเรียนรู้จากเห็ดที่ขึ้นในแต่ละพื้นที่ พัฒนาสู่การสร้างโรงเรือนอย่างง่ายเพื่อการพึ่งตนเอง เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงที่มาของอาหารและเข้าใจห่วงโซ่ระบบผลิตอาหารในปัจจุบัน การตัดทอนห่วงโซ่นั้นด้วยการผลิตอาหารด้วยตนเองอย่างง่าย มีความภาคภูมิใจในการพึ่งตนเอง มีความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อธรรมชาติและเคารพต่อคุณค่าของชีวิต

SEP 20647 การสร้างความพอเพียงขั้นพื้นฐาน 2 ด้านความมั่นคงด้านเครื่องอุปโภค
(Creating Basic Sufficiency II for consuming sustainable) 3 (1-4-4)
ฝึกปฏิบัติสร้างความพอใช้ขั้นพื้นฐานด้วยการทำสบู่ แชมพู น้ำยาล้างจาน น้ำยาอเนกประสงค์ใช้เอง ทั้งจากธรรมชาติ 100% เช่น ใบหมี่ หมากซัก และการใช้กลีเซอรีน (ฅนมีน้ำยา) และรู้จักการเผาถ่าน ดักน้ำส้มควันไม้ (ฅนเอาถ่าน) การดูแลสุขภาพเบื้องต้น (ฅนรักษ์สุขภาพ) เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงการพึ่งตนเองอย่างง่ายในวิถีชีวิตประจำวัน ตระหนักถึงอิสรภาพของการพึ่งตนเอง และคุณค่าของการใช้ชีวิตอย่างเบียดเบียนธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด ลดการใช้เคมีในชีวิตประจำวัน ใช้ผลิตผลที่มาจากการเพาะปลูกมาประยุกต์ใช้กับชีวิต ลดการบริโภคสินค้าลง พึ่งตนเองให้มากขึ้น

SEP 30648 การสร้างความพอเพียงขั้นพื้นฐาน 3 ด้านความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย
(Creating Basic Sufficiency III for residence sustainable) 3 (1-4-4)
ฝึกปฏิบัติสร้างความพออยู่ได้ด้วยตนเอง เรียนรู้วิธีการสร้างที่อยู่อาศัยด้วยวัสดุธรรมชาติ อาทิ ดิน ไผ่ ไม้ (ฅนติดดิน) การพึ่งตนเองด้านพลังงานขั้นพื้นฐาน (ฅนมีไฟ) และการจัดการของเสีย (Zero Waste) เพื่อให้ผู้เรียนได้ตระหนักถึงความสามารถของมนุษย์ในการสร้างที่อยู่อาศัยของตนเองที่สอดคล้องกับธรรมชาติ ไม่สร้างหนี้สินและพอเพียง

SEP 30649 พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
(Royal Biography of King Rama IX) 3 (3-0-6)
ศึกษาพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตลอดจนพระราชกรณียกิจตลอดระยะเวลาการครองราชย์ 70 ปี พระราชดำรัสที่ตรัสในวาระโอกาสต่างๆ และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเพื่อแก้ไขปัญหาของราษฎรเพื่อเรียนรู้ถึงที่มาของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จากพระราชกรณียกิจตลอดระยะเวลา 70 ปี ได้เห็นแบบอย่างของกษัตริย์ของประชาชนที่มีคุณธรรมตามทศพิธราชธรรม และเข้าใจถึงเบื้องหลังปรัชญาและศาสตร์พระราชาที่พระราชทานไว้ให้คนไทยทุกคน เป็นแนวทางให้ผู้เรียนได้ยึดมั่นในการดำเนินชีวิตภายใต้โลกที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว

SEP 40650 ปรัชญา ศาสนาและอารยธรรมไทย
(Thai Civilization, Philosophy and Religion) 3 (1-2-6)
ศึกษาความแตกต่างตามภูมิสังคม และที่มาของการอารยธรรมไทย ความเปลี่ยนแปลงเมื่อเผชิญกับคลื่นแห่งความเปลี่ยนแปลงของโลกยุคโลกาภิวัตน์ การปรับตัวของชุมชน และวัฒนธรรมชุมชนไทยในปัจจุบัน เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงความเป็นมาของสังคมไทยที่ผ่านยุคสมัยต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง มีความหลากหลายของชาติพันธุ์ และอารยธรรมของชาติพันธุ์นั้นๆ จนเป็นที่มาของสังคมพหุวัฒนธรรมในปัจจุบันซึ่งอยู่ร่วมกันได้ด้วยความเคารพ ผู้เรียนมีความเคารพในความต่างของความคิดเห็น และเข้าใจรูปแบบต่างๆ ของสังคมไทยที่กำลังปรับตัวรับกับความเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบัน

แขนง นวัตกรรมผู้ประกอบการสังคม (Innovation for Social Entrepreneur)

SEP 20651 กรณีศึกษากับผู้ประกอบการสังคม (Case study on social entrepreneurs) 3 (1-2-6)
เรียนรู้แนวคิดการประกอบการสังคมจากทั้งกรณีศึกษาและผู้ประกอบการจริง ทำความเข้าใจในความรู้ ทักษะ ทุกกระบวนการขั้นตอน นำมาประยุกต์ใช้กับโครงงานของตนเอง เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

SEP 20652 การบริหารจัดการชุมชนอย่างยั่งยืน
(Sustainable community resources management) 3 (2-1-6)
ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลชุมชนที่มีอยู่อย่างเป็นระบบ เชื่อมโยงสู่การประกอบการสังคม เพื่อสร้างและพัฒนาจุดแข็งให้สอดคล้องกับชุมชน ตลอดจนปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในอันที่จะก่อให้เกิดประโยชน์โดยรวมทั้งต่อกิจการและชุมชนไปพร้อม ๆ กัน ผ่านการประกอบการสังคม

SEP 20653 สิ่งแวดล้อมโลก
(Global Environmental Issues) 3 (2-1-6)
เรียนรู้ถึงคุณประโยชน์ของสิ่งแวดล้อมในระดับโลกและระดับท้องถิ่นในด้านต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความตระหนักต่อพฤติกรรมของมนุษย์ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นำมาปรับใช้กับโครงงานและบริบทต่าง ๆ ในชุมชนให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

SEP 20654 การประเมินผลลัพธ์ทางสังคม
(Social Impact Assessment) 3 (2-1-6)
ศึกษาหลักการประเมินผลตอบแทนทางสังคม วิเคราะห์ถึงคุณค่าและผลตอบแทนจากการทำโครงงานในพื้นที่ประกอบการของผู้ศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและพันธกิจของกิจการ ผ่านเครื่องมือ Social impact assessment (SIA) โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของการใช้ได้จริง ทำให้ผู้ศึกษาได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงโครงงานและสร้างการเปลี่ยนแปลงในชุมชน

SEP 20655 การเขียนด้วยการใคร่ครวญด้านใน
(Contemplative Writing) 3 (1-2-6)
หลักการและแนวคิดของการเขียนด้วยการใคร่ครวญด้านในตามแนวทางจิตตปัญญาศึกษาและหลักการสะท้อนคิดและการตั้งคำถาม วิถีปฏิบัติและกระบวนการในการเข้าใจตนเองอย่างลึกซึ้งผ่านการเขียนด้วยการใคร่ครวญด้านใน

SEP 30656 นวัตกรรมการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการสังคม
(Innovation of Social Entrepreneur Network) 3 (2-1-6)
เรียนรู้รูปแบบการสร้างเครือข่ายทางสังคมและทางธุรกิจ สามารถประยุกต์ใช้และออกแบบเครือข่ายเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในการประกอบการสังคมและสังคมอย่างยั่งยืน

SEP 30657 เทคโนโลยีทางธุรกิจเพื่อการประกอบการสังคม
(Information Technology for Social Enterprise) 3 (2-1-6)
เรียนรู้การทำธุรกิจเพื่อสังคมบนระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งในด้านบริหารจัดการภายในองค์กรต่าง ๆ เช่น ระบบฐานข้อมูล บัญชีการเงิน สินค้าคงคลัง และลูกค้า เป็นต้น และเชื่อมโยงไปยังภาคีเครือข่ายตลอดจนสื่อสารกับลูกค้า รู้จักอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware) ที่ต้องใช้งาน เรียนรู้โปรแกรมใช้งานใหม่ ๆ (Application) ที่ส่งเสริมการประกอบการสังคมให้ทันสมัยและยั่งยืน (สอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0)

SEP 30658 การเพิ่มมูลค่าสินค้าในครัวเรือนและชุมชน
(Principle of value adding for SMEs) 3(1-2-6)
ศึกษาแนวทางในการเพิ่มมูลค่าสินค้า โดยการใช้ต้นทุนที่ต่ำหรือต้นทุนในชุมชนที่มีอยู่ในการแปรรูปสินค้า หรือขยายรูปแบบการจำหน่ายและบริการของโครงงานของผู้ศึกษา โดยใช้กระบวนการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ

SEP 30659 การบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้
(Management of Professional Learning Community) 3 (1-2-6)
ศึกษาแนวคิดและหลักการของชุมชนการเรียนรู้ สร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนหลาย ๆ ฝ่าย รู้จักพื้นที่ ทุน และคุณค่าต่าง ๆ ของชุมชน รวบรวม ออกแบบและสร้างพื้นที่ของตนเองให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ และจัดการความรู้ชุมชนอย่างเป็นระบบสามารถถ่ายทอดให้กับผู้สนใจได้

SEP 40660 ทักษะพื้นฐานในการผลิตสื่อเพื่อการประกอบการ
(Basic Skills to produce media for Entrepreneurship) 3 (1-2-6)
รู้จัก เข้าใจถึงประโยชน์ของการใช้สื่อโฆษณาและประชาสัมพันธ์ในการประกอบการสังคม สามารถผลิตสื่ออย่างง่ายที่มีต้นทุนต่ำและหาทรัพยากรได้จากในท้องถิ่น เพื่อนำไปใช้ในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ได้ตรงตามเป้าหมาย ช่วยเพิ่มรายได้ ทำให้กิจการดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

หมวดวิชาเลือกแขนง
แขนง ผู้ประกอบการสังคมด้านธุรกิจเพื่อสังคม (Social Entrepreneur for Social Business)

SEP 20701 การสร้างฐานข้อมูลชุมชน
(Social Database) 3 (1-4-4)
ศึกษาแนวคิด เทคนิค การสำรวจชุมชน เพื่อศึกษาทุนทางสังคมในชุมชน เพื่อเสนอแนะหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนโดนใช้ทุนทางสังคม AIC (Appreciation Influence Control)บันไดคุณภาพชีวิต (Bamboo Ladder Quality of Life Assessment)

SEP 20702 ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจชุมชน
(Local Economic History) 3 (1-4-4)
ศึกษาความเป็นมาสภาพเศรษฐกิจของชุมชน แนวคิดและรูปแบบการดำเนินการเศรษฐกิจของชุมชน เพื่อให้เห็นความเปลี่ยนแปลงทางมิติเศรษฐกิจจากอดีตถึงปัจจุบัน ตลอดจนสภาพปัญหาเศรษฐกิจในชุมชนเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนอย่างเหมาะสม

SEP 30703 กระบวนการส่งเสริมธุรกิจในชุมชน
(Multidisciplinary Skills for Sustainable Social Business) 3 (1-4-4)
ศึกษาและการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาในชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนและมั่นคงได้ โดยใช้วิธีการ การประกอบธุรกิจ ที่มีภาครัฐและภาคเอกชนมีส่วนร่วมในสนับสนุน การจัดอบรมให้ความรู้ จัดหาแหล่งทุน และสร้างเครือข่ายให้มีความเข้มแข็ง ส่งเสริมให้ชุมชนสามารถประกอบธุรกิจอย่างมั่นคงและยั่งยืน

SEP 30704 ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาชุมชน
(Social Capital in Rural Communities) 3 (1-4-4)
ศึกษาภูมิปัญญา วัฒนธรรม ในท้องถิ่น ที่เป็นรากฐานของชุมชน ที่สามารถนำไปต่อยอด
เพื่อพัฒนากับธุรกิจเพื่อสังคมได้อย่างสอดคล้องกลมกลืนกับวัฒนธรรมและบริบทของท้องถิ่น/ชุมชน

SEP 30705 กระบวนการพัฒนาชุมชนอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน
(Participatory approaches to Social Development) 3 (1-4-4)
ศึกษากระบวนการและสร้างนักพัฒนาชุมชนที่มีความรู้และประสบการณ์ในการช่วยแก้ปัญหาในชุมชนโดยสามารถใช้วิธีการและกระบวนการที่เหมาะสมเพื่อสร้างความมั่นคงให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

SEP 40706 ธุรกิจการเกษตร
(Fundamentals of Agriculture Business Management) 3 (1-4-4)
ศึกษาเรียนรู้ ธรรมชาติสังคมชนบท คนจนคือบุคคลที่ประกอบธุรกิจไม่เก่ง อาชีพส่วนใหญ่ในชนบทคืออาชีพเกษตรกรรม ความจำเป็นที่ต้องส่งเสริมให้เกษตรกรมีความรู้ด้านธุรกิจเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการประกอบธุรกิจในเชิงการเกษตรให้ได้ผลกำไรที่ดี ลดต้นทุนการผลิต ใช้พื้นที่น้อยแต่ได้ประโยชน์สูงสุด ประสบความสำเร็จในการประกอบธุรกิจเกษตรฝึกปฏิบัติเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรด้วยความรู้ทางธุรกิจการเกษตร

SEP 40707 ธนาคารพัฒนาหมู่บ้าน
(Village Organization Banking) 3 (1-4-4)
ศึกษาเรียนรู้แหล่งทุนของชุมชนต่างๆ เข้าใจสาเหตุที่ทำให้ชุมชนขาดโอกาสเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อประกอบอาชีพการเข้าถึงแหล่งทุนที่เป็นธรรมของชุมชนมีน้อย เนื่องจากกระบวนการการกู้ยืนเงินมาประกอบอาชีพหรือประกอบธุรกิจ มีข้อจำกัดสูง เพราะต้องมีหลักทรัพย์ในค้ำประกันและดอกเบี้ยการกู้ยืมสูง เรียนรู้และฝึกปฏิบัติการจัดตั้งธนาคารพัฒนาหมู่บ้าน โดยส่งเสริมชุมชนเป็นคณะทำงานและบริหารจัดการด้วยตนเอง สร้างโอกาสให้ชุมชนมีแหล่งเงินกู้และเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อสร้างรายได้

แขนง ผู้ประกอบการสังคมด้านศิลปะการละคร (Social Entrepreneur of Performing Art)

SEP 10708 ปฏิบัติการนาฏศิลป์และดนตรีตะวันตก

(Performing Arts and Western Music’s Practice) 3 (3-0-6)
ศึกษาแนวคิดนาฏศิลป์และดนตรีตะวันตก ฝึกปฏิบัติการเล่นเครื่องดนตรีสากลหนึ่งชนิดและฝึกปฏิบัติการพื้นฐานเต้นแบบตะวันตก เช่น บัลเลย์ ฮิพฮอพ แจ๊สแดนส์ หรือ ลีลาศ เป็นต้น เพื่อให้นักศึกษามีทักษะพื้นฐาน และนำทักษะไปเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตละครประสานสังคมร่วมสมัย ทั้งในฐานะผู้แสดงเอง และในฐานะผู้ผลิตละคร

SEP 10709 ประวัติศาสตร์ละครตะวันออก
(Eastern Drama History) 3 (3-0-6)
ศึกษาประวัติศาสตร์ละครตะวันออกโดยศึกษาภาพรวม ประวัติศาสตร์ตะวันออก ตั้งแต่สมัยของราชวงศ์จีน อินเดียราชวงศ์โมกุล จนถึงปัจจุบัน ทั้งปรัชญา ศาสนา ความเชื่อ การเมือง เศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ปัญหาในแต่ละยุคสมัย วิเคราะห์เชื่อมโยงกับบทละครตะวันออกแต่ละยุคสมัย เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจความสัมพันธ์ของประวัติศาสตร์ที่ส่งผลต่อบทละครสามารถนำไปประยุกต์วิเคราะห์ปัญหาสังคมได้ และเป็นพื้นฐานสำหรับการผลิตละครเพื่อประสานสังคมร่วมสมัย

SEP 30710 ละครใบ้
(Mime) 3 (1-4-4)
ศึกษาและฝึกฝนทักษะละครใบ้ ละครสัตว์ ละครกายกรรมเบื้องต้น เรียนรู้วิธีการแสดง และ วิธีการสร้างเรื่องราวแบบอวัจนภาษา ฝึกปฏิบัติโดยร่วมแสดงละครใบ้เบื้องต้น เพื่อให้นักศึกษามีทักษะพื้นฐาน นำทักษะไปเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตละครประสานสังคมร่วมสมัย ทั้งในฐานะผู้แสดงเอง และในฐานะผู้ผลิตละคร

SEP 30711 การเขียนบทละคร
(Script Writing) 3 (1-2-6)
ศึกษาการเขียนบทละครที่เน้นวิเคราะห์ปัญหาสังคมไทยจากระดับปัญหาท้องถิ่นสู่ระดับครอบครัว ถึงระดับบุคคล มุ่งเน้นการสร้างเรื่องราวจากครอบครัวของนักศึกษาเอง โดยผสมผสานวิธีการเขียนบทจากสามสำนักคือ 1.ทฤษฎีเรื่องเล่ายาก : คณะละครมรดกใหม่ 2.ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ : ซิกมันด์ฟรอยด์และ 3.ทฤษฎีสัญศาสตร์ : Roland Barthesซึ่งทำให้ผู้เรียนเข้าใจพื้นฐานของปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งในระดับปุถุชนและในระดับสังคม จนสามารถนำไปเขียนบทละครได้

SEP 30712 ปฏิบัติการณ์นาฏศิลป์ไทย
(Thai Performing Arts Practice) 3 (1-4-4)
ศึกษาแนวคิดและประวัติศาสตร์การก่อกำเนิดของนาฏศิลป์ไทย เชื่อมโยงกับการศึกษา การรำและระบำในรูปแบบต่างๆ โดยเน้นที่การแสดงโขน ศึกษาบทบาทหน้าที่ของการแสดงนาฏศิลป์ไทย ในงานพิธีต่างๆ ฝึกซ้อมและปฏิบัติการแสดงจริงในรูปแบบประเพณีนิยมและโขนประยุกต์ เชื่อมโยงการตีบทของโขนกับการแสดงละครใบ้ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนได้เพิ่มทักษะพื้นฐาน นำทักษะไปเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตละครประสานสังคมร่วมสมัย ทั้งในฐานะผู้แสดงเอง และในฐานะผู้ผลิตละคร

SEP 30713 ละครสำหรับผู้ถูกกดขี่
(Theater for the Oppress) 3 (1-4-4)
ศึกษาตัวอย่างขององค์กรที่มีความเหลื่อมล้ำระหว่างนายจ้างและลูกจ้างอย่างเด่นชัด และ
คัดเลือกองค์กรตัวอย่างเพื่อสร้างละครแทรกสดหรือละครที่นักแสดงและคนดูมีส่วนร่วมและเปลี่ยนแปลงละครระหว่างเล่นได้เพื่อหาทางเลือกและความเป็นไปได้ในการลดความเหลื่อมล้ำการกดขี่ทางองค์กร ผสมผสานวิธีการของ Forum Theatre, Theatre of the Oppress และละครด้นสด ซึ่งผู้เรียนได้เรียนรู้และร่วมผลิตละครสำหรับผู้ถูกกดขี่ รวมทั้งการเป็นกระบวนกร นำกระบวนการสนทนากลุ่มเพื่อหาทางออกในประเด็นต่างๆ

SEP 40714 ทรัพยากรชุมชนเพื่อการผลิตละคร
(Community Resources for Theater Production) 3 (1-2-6)
ศึกษาสภาพและบริบทชุมชน เพื่อหาทรัพยากรหรือวัตถุดิบทั้งที่เป็นวัตถุและทั้งที่เป็นบุคคลมาเป็นเครื่องมือในการผลิตละคร จัดทำขึ้นมาเป็นสื่อพื้นบ้านและสื่อร่วมสมัย โดยใช้วัสดุจากชุมชน เช่น เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย ฉาก ไม้ อุปกรณ์ทำมาหากิน เครื่องมือสำหรับการประกอบอาชีพ โดยนักศึกษาจะลงชุมชนเพื่อค้นหาความเชื่อมโยงจากทรัพยากรชุมชนกับประเด็นเนื้อหาสำหรับการผลิตละคร

แขนง ผู้ประกอบการด้านสุขภาพตามหลักแพทย์วิถีธรรม (Social Entrepreneur of Doctrine of Buddhism Base)

SEP 20715 หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(Philosophy of Sufficiency Economy) 3 (0-3-6)
ศึกษาความหมาย ความสำคัญ ความเป็นมา ของระบบสาธาณโภคีแพทย์วิถีธรรม ระบบ วัตถุประสงค์และคุณค่าของการจัดตั้ง วิธีการบริหารและดำเนินงาน คุณสมบัติของสมาชิกและผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของระบบสาธารณโภคีแพทย์วิถีธรรม ฝึกดำรงชีวิตตามระบบสาธารณโภคีแพทย์วิถีธรรม เพื่อให้มีความรู้และทักษะ รวมทั้งสามารถนำระบบสาธารณโภคีแพทย์วิถีธรรมไปประยุกต์ใช้ในชีวิต ครอบครัว ชุมชน และสังคมได้

SEP 20716 กสิกรรมไร้สารพิษตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
(Organic Farming in accordance with Sufficiency Economy 3 (2-1-6)
ศึกษาความหมาย ความสำคัญแนวคิดพื้นฐานของการทำกสิกรรมไร้สารพิษตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง การทำปุ๋ยชีวภาพ เทคนิคการทำไร่นา สวนผสม แบบไร้สารพิษตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ฝึกทักษะการทำกสิกรรมไร้สารพิษตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสร้างความรู้และฝึกปฏิบัติการทำกสิกรรมไร้สารพิษตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

SEP 20717 ครัวแพทย์วิถีธรรม
(Dhamma Medicine Cuisine) 3 (2-1-6)
ศึกษาความหมาย ความสำคัญ เอกลักษณ์ เทคนิคการบริหารจัดการครัว ได้แก่ การบริหาร
บุคคล งบประมาณ เครื่องมือ อุปกรณ์ และการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ในการประกอบอาหารปรับสมดุลตามหลักแพทย์วิถีธรรม ฝึกปฏิบัติทักษะการบริหารจัดการครัวตามหลักแพทย์วิถีธรรม เพื่อสร้างความรู้และทักษะการบริหารจัดการครัวตามหลักแพทย์วิถีธรรม

SEP 30718 จิตอาสาวิถีธรรม
(Dharma Volunteers) 3 (0-3-6)
ศึกษาความหมาย ความสำคัญของจิตอาสาตามหลักพุทธธรรม ประกอบด้วย หลักสาราณียธรรม 6 พุทธพจน์ 7 อปริหานิยธรรม 7 เหตุแห่งวิมุติ 5 มนาปทายีสูตร และอาพาธสูตร ในการรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม การใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างคุ้มค่าตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ลดอัตตา ถือศีล เคารพมติหมู่กลุ่ม ความรับผิดชอบ ความประหยัด ความขยัน ความอดทน และแบ่งปัน) และฝึกปฏิบัติตนตามแนวทางจิตอาสาแพทย์วิถีธรรม เพื่อสร้างจิตสำนึกในความเป็นจิตอาสาแพทย์วิถีธรรมในตน

SEP 30719 สาธารณโภคีแพทย์วิถีธรรม
(Dhamma Medicine Charity Fund) 3 (2-1-6)
ศึกษาความหมาย ความสำคัญ ความเป็นมา ของระบบสาธารณโภคีแพทย์วิถีธรรม ระบบ วัตถุประสงค์และคุณค่าของการจัดตั้ง วิธีการบริหารและดำเนินงาน คุณสมบัติของสมาชิกและผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของระบบสาธารณโภคีแพทย์วิถีธรรม ฝึกดำรงชีวิตตามระบบสาธารณโภคีแพทย์วิถีธรรม เพื่อให้มีความรู้และทักษะ รวมทั้งสามารถนำระบบสาธารณโภคีแพทย์วิถีธรรมไปประยุกต์ใช้ในชีวิต ครอบครัว ชุมชน และสังคมได้

SEP 30720 การให้คำปรึกษาตามหลักการแพทย์วิถีธรรม
(Dhamma Medicine Counseling) 3 (2-1-6)
ศึกษาความหมาย ความสำคัญ ของการให้คำปรึกษารายบุคคล รายกลุ่ม ลักษณะเฉพาะของการให้คำปรึกษา องค์ประกอบ กระบวนการ ทักษะพื้นฐาน และข้อควรระวังในการให้คำปรึกษา ฝึกทักษะการให้คำปรึกษาตามหลักการแพทย์วิถีธรรม เพื่อการเป็นผู้ให้คำปรึกษาที่ดี

SEP 30721 วิทยากรแพทย์วิถีธรรม
(Dhamma Medicine Facilitator) 3 (2-1-6)
ศึกษาความหมาย ความสำคัญของการเป็นวิทยากร คุณสมบัติการเป็นวิทยากรที่ดี ทักษะพื้นฐานก่อนพูด ทักษะการเป็นวิทยากรแบบบรรยาย ทักษะการเป็นวิทยากรแบบสาธิตและปฏิบัติ การวางแผนและเขียนแผนวิทยากรแบบบรรยาย และแบบสาธิตและฝึกปฏิบัติการประเมินทักษะการเป็นวิทยากร ฝึกแนะนำตนเอง บรรยาย สาธิตและปฏิบัติ รวมถึงการประเมินตนเอง เพื่อการพัฒนาตนเองให้เป็นวิทยากรที่ดี

SEP 40722 การสื่อสารแพทย์วิถีธรรม
(Dharma Medicine Communication) 3 (2-1-6)
ศึกษาความหมาย ความสำคัญของการสื่อสาร แนวทางการสื่อสารแบบสุขภาพแพทย์วิถีธรรม ตามหลักพุทธธรรม ได้แก่ มหาปรเทส 4 และสัปปุริสธรรม 7 การนำเสนอหรือออกแบบวิธีการสื่อสาร ความรู้ความเข้าใจในประโยชน์และการบริหารกิจกรรมเผยแพร่การดูแลสุขภาพแพทย์วิถีธรรมในรูปแบบต่างๆ การพัฒนาตนเองในการสื่อสาร เพื่อสร้างความรู้และทักษะในการสื่อสารสุขภาพแพทย์วิถีธรรม

SEP 40723 ตลาดวิถีธรรมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
(Dhamma Medicine Market in accordance) 3 (2-1-6)
ศึกษา ความหมาย ความสำคัญของตลาดวิถีธรรมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง วัตถุประสงค์ หลักการดำเนินงานและการบริหารงาน ตามหลักพาณิชย์บุญนิยม 4 ประการ ได้แก่ ของดี ราคาถูก ซื่อสัตย์ มีน้ำใจ โดยสานพลังกับหมู่มิตรดี ซึ่งมีหลักการกำหนดราคาบุญนิยมไว้ 4 ระดับ คือ ราคาต่ำกว่าท้องตลาด ราคาเท่าทุน ราคาต่ำกว่าทุน และแจกฟรี ผสมผสานกับการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ฝึกคัดสรรผู้ให้บริการ คัดสรรสินค้า จัดซื้อ ตรวจสอบคุณภาพ กำหนดราคา จัดจำหน่าย ส่งเสริมการตลาด และสร้างสัมพันธภาพทางการตลาดวิถีธรรมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างความรู้และทักษะการทำตลาดวิถีธรรมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

SEP 40724 เครือข่ายแพทย์วิถีธรรม
(Dharma Medicine Network) 3 (2-1-6)
ศึกษาความหมาย ความสำคัญของเครือข่าย องค์ประกอบ รูปแบบ และกระบวนการสร้างเครือข่าย ฝึกปฏิบัติการร่วมสร้างเครือข่ายแพทย์วิถีธรรม เพื่อสร้างทักษะในการร่วมสร้างเครือข่ายแพทย์วิถีธรรม

แขนง การประกอบการสังคมเพื่อชุมชน (Social Enterprise for Community)

SEP 20725 การพัฒนาศักยภาพการเป็นผู้ประกอบการสังคม 1
(Case Study on Social Entrepreneurship I) 3 (1-2-6)
ศึกษาต้นแบบผู้ประกอบการสังคม ในชุมชน ระดับประเทศ และระดับโลก ทั้งบุคคล องค์กร เครือข่าย โดยศึกษาที่มา แนวคิด และแนวทางการประกอบการสังคมต่างๆ นั้น เพื่อถอดความหมายการเป็นผู้ประกอบการสังคม พร้อมสกัดบทเรียนที่ได้เรียนรู้ และสามารถเชื่อมโยงนำมาพัฒนาตนพัฒนางานได้

SEP 20726 การพัฒนาและการจัดการชุมชน/พื้นที่/โครงการ อย่างยั่งยืน
(Social Development Principle) 3 (2-1-6)
ศึกษาหลักการและกระบวนการพัฒนาชุมชน ศึกษาแนวคิดและการจัดทำแผนแม่บทชุมชน ตัวอย่างแผนแม่บทชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง ศึกษาแนวคิดและวิธีการในการกำหนดนโยบายสาธารณะ การนำนโยบายไปปฏิบัติ การถอดบทเรียนจากงานจริงเพื่อขับเคลื่อนเป็นนโยบาย ผ่านการปฏิบัติงานจริงด้วยการทำงานเป็นกลุ่มเพื่อการพัฒนาชุมชน จากการเรียนรู้นี้ ผู้เรียนจะสามารถเขียนแผนแม่บทชุมชน และนำเสนอเพื่อต่อยอดสู่การขับเคลื่อนเชิงนโยบายได้

SEP 30727 การออกแบบและการสร้างโมเดลการประกอบการสังคม
(Design & Development for Social Enterprise Model) 3 (2-1-6)
ศึกษาคุณลักษณะและทักษะของผู้ประกอบการสังคม การวิเคราะห์ปัญหาและโอกาสของผู้ประกอบการสังคม การแสวงหาโอกาสใหม่ของการประกอบการ การทำแผนธุรกิจหรือแผนดำเนินการของการประกอบการ แผนการตลาดหรือแผนการขับเคลื่อนเพื่อการประกอบการ แนวคิดในการเลือกธุรกิจหรือการประกอบการ รูปแบบของการลงทุนและโอกาสในการระดมทุน การดำเนินงานของผู้ประกอบการสังคม การประเมินการประกอบการจากผลกระทบเชิงสังคม (Social Impact Assessment) ศึกษาแนวคิดการออกแบบและสร้างโมเดล เพื่อนำความคิดให้เห็นเป็นภาพ และเกิดรูปธรรม และสามารถนำงานวิจัย (ถ้ามี) มาต่อยอดพัฒนาเพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง และนำไปถึงคุณค่าที่ตั้งหวังไว้ โดยการศึกษาจากผู้ประกอบการสังคมต้นแบบ องค์กรที่มีการประกอบการเพื่อสังคม ออกแบบเขียนแผนงานการประกอบการสังคมของตนเองพร้อมกับนำเสนอแนวคิดการประกอบการสังคมของตนได้ เกิดการเข้าใจความหมายการประกอบการสังคมที่แท้ เกิดแรงบันดาลใจจากตัวอย่างต้นแบบ และนำมาประยุกต์พัฒนาตนเองและโครงการประกอบการสังคมของตนเองได้

SEP 30728 การบริหารและพัฒนาทุน (ทุนทางสังคม+ทรัพยากร)
(Social Capital Management and Development) 3 (1-2-6)
ศึกษาเรื่องทุนรูปแบบต่างๆ (4 M : Man, Money, Materials, Management) เรียนรู้ทุนของชุมชนหรือทุนทางสังคม ทรัพยากรที่มี ทรัพยากรที่ต้องใช้ เรียนรู้วิธีปรับการจัดการทุนและทรัพยากรอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผล จนอาจสามารถก่อเกิดความยั่งยืนของงานหรือโครงการประกอบการสังคมที่สร้างสรรค์ขึ้น จากการเรียนรู้นี้ ผู้เรียนจะเข้าใจถึงองค์ประกอบสำคัญขององค์กรหรือการประกอบการ องค์ประกอบสำคัญของชุมชน ได้ศึกษาปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

SEP 30729 การวิจัยเพื่อการพัฒนาตนเองและชุมชน
(Research for self and Community Development) 3 (2-1-6)
ศึกษาแนวคิดวิจัยเบื้องต้น เช่น วิจัยในท้องถิ่นแบบมีปฏิบัติการส่วนร่วม เพื่อทบทวนและ
พัฒนาตนเอง และงานหรือโครงการประกอบการสังคม รวมทั้งเครือข่ายที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ จนอาจสามารถต่อยอดเกิดเป็นนวัตกรรมการประกอบการสังคมของชุมชน

SEP 30730 การพัฒนาศักยภาพการเป็นผู้ประกอบการสังคม “เฉพาะด้าน” 2
(Case Study on Social Entrepreneurship II) 3 (1-2-6)
ศึกษาต้นแบบผู้ประกอบการสังคม “เฉพาะด้าน” ที่เป็นต้นแบบหรือเชื่อมโยงสัมพันธ์กับการประกอบการสังคมของผู้เรียน ทั้งบุคคล องค์กร เครือข่าย โดยผู้เรียนจะสกัดบทเรียนที่ได้เรียนรู้มาเชื่อมโยงพัฒนาตนพัฒนางานได้

SEP 30731 การสร้าง – เชื่อม – พัฒนาเครือข่าย
(Social Networking) 3 (1-4-4)
ศึกษาภาวะผู้นำแบบต่างๆ เทคนิคการพัฒนาทีมงาน แนวคิดเกี่ยวกับการทำงานเป็นทีม ภาวะผู้นำชุมชน การดำเนินงานของเครือข่ายองค์กรชุมชน เครือข่ายภาคประชาสังคม การบริหารความขัดแย้งแบบต่างๆ ศึกษาแนวคิดความสำคัญการเป็นเครือข่าย การบริหารจัดการเครือข่าย การจัดการความขัดแย้งอย่างสันติวิธี วิธีการจัดการกับความขัดแย้งที่ใช้ในการจัดการชุมชนอย่างเหมาะสม การจัดการเชื่อมประสานความร่วมมือและสร้างภาคีความร่วมมือ โดยการเรียนรู้จากทฤษฎี ศึกษาดูงานจากต้นแบบที่เป็น บุคคล องค์กร และเครือข่ายต่างๆ ทดลองปฏิบัติผ่านงานจริงจากการเรียนรู้

แขนง ผู้ประกอบการสังคมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง (Social Enterprise with Philosophy of Sufficiency Economic)

SEP 30732 การเขียนโครงการและงานวิจัย
(Research Approaches and Methodologies) 3 (1-2-6)
ฝึกปฏิบัติการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง การใช้ห้องสมุดและการหาข้อมูลออนไลน์ การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล และการนำข้อมูลมาใช้อย่างมีมารยาททางวิชาการเพื่อประกอบการเขียนโครงการและการสร้างงานวิจัยเพื่อเตรียมพร้อมเป็นผู้ประกอบการสังคมภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงการพัฒนาโครงการโดยบูรณาการสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปสู่โครงการที่มีการลำดับความคิด เป็นขั้นเป็นตอน มีการวางแผนการติดตาม และการงบประมาณเบื้องต้นผู้เรียนได้ตระหนักถึงความแตกต่างของการดำเนินการโครงการผู้ประกอบการสังคมภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กับหลักคิดอื่นๆ

SEP 30733 การออกแบบพื้นที่เพื่อการจัดการน้ำตามหลักภูมิสังคม
(Landscape Irrigation Design and Management) 3 (1-4-4)
เรียนรู้ความสำคัญของระบบนิเวศระดับลุ่มน้ำที่เกี่ยวข้องกับความจำเป็นขั้นพื้นฐานของชีวิต การเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศโลกส่งผลกระทบถึงภัยพิบัติ ความเชื่อมโยงกันของปัญหาระดับลุ่มน้ำและแนวทางการออกแบบพื้นที่เพื่อการจัดการน้ำตามหลักภูมิสังคม (โคกหนองนา โมเดล) เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงความสัมพันธ์ของวิถีชีวิตในระดับลุ่มน้ำที่มีภูมิศาสตร์เป็นตัวกำหนด ผลกระทบของพฤติกรรมมนุษย์และวิถีชีวิตเชื่อมโยงกันทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ สามารถเข้าใจความเชื่อมโยงกันระหว่างภูมิศาสตร์กับสังคมที่แตกต่างกันไป และประยุกต์ใช้ได้กับพื้นที่ชุมชนของตนเอง

SEP 30734 การจัดกระบวนการเรียนรู้
(The Art of Facilitation) 3 (1-2-6)
ฝึกการดำเนินกระบวนการและการจับประเด็น (Facilitating & Techniques) กลวิธีในการสังเคราะห์ (Synthesis & Techniques)การออกแบบกระบวนการ (Process) เพื่อการจัดการเรียนรู้ การจัดสถานที่เพื่อการจัดเวิร์คช้อปการระดมความคิดเห็นอย่างมีส่วนร่วม (Space & Organizing) เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงกระบวนการจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมโดยผู้เรียนเอง และเข้าใจบทบาทของผู้จัดกระบวนการ และองค์ประกอบต่างๆ ที่มีผลต่อการจัดเวิร์คช็อประดมความคิดเห็น ส่งผลให้ผู้เรียนลดอัตตาในตนเอง พร้อมรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น และเปิดโอกาสให้ความคิดใหม่ๆ เกิดขึ้นได้

SEP 30735 การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์
(Communication Skills) 3 (1-4-4)
ฝึกการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วม โดยทำความเข้าใจวิธีการพูดและการฟัง 4 วิธี ได้แก่ การถ่ายทอดทางเดียว (DOWNLOAD) การโต้แย้ง (DEBATE) การสนทนา (DIALOGUE) การพูดและฟังแบบเข้าถึง (PRESENCING) การผลิตสื่อและการใช้ช่องทางการสื่อสารในโลกอินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยีในปัจจุบัน (New Media) เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงความสำคัญของการสื่อสารและผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน สามารถผลิตสื่อที่สร้างสรรค์ได้อย่างเข้าใจแท้จริงถึงคุณค่าของมนุษย์และความแตกต่างของแต่ละบุคคลซึ่งมีที่มาที่ไป และสิ่งที่อยู่เบื้องหลังพฤติกรรมของเขาซึ่งมาจากประสบการณ์ที่แตกต่างกัน

SEP 40736 ปฏิบัติการโครงงานกสิกรรมธรรมชาติ 1
(Practicum I) 3 (1-2-6)
ฝึกปฏิบัติการนำความรู้ที่ได้ทำการทดลองในพื้นที่ตัวอย่างของศูนย์เรียนรู้และเครือข่าย เพื่อให้ผู้เรียนได้นำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปลงมือปฏิบัติจริง โดยมีเครือข่ายเป็นพี่เลี้ยง สามารถพัฒนาทักษะของตนเองได้ และรู้จักการทำงานกับเครือข่าย สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีส่วนร่วมและเคารพความคิดเห็นผู้อื่น

SEP 40737 การบริหารและจัดองค์กรอาสาสมัคร
(Community of Practice) 3 (1-4-4)
ศึกษาการบริหารศูนย์เรียนรู้ (ศูนย์ฝึก, ค่ายพักพิง, โรงเรียน, วัด, ชุมชน) การอนุรักษ์และ
พัฒนาศูนย์เรียนรู้ ในมิติของที่พักพิงทาง กาย ใจ จิตวิญญาณ และการสร้างชุมชนมิติใหม่ (ชุมชนศรัทธาร่วม) เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงการบริหารงานรูปแบบที่เหมาะสมกับสังคมในปัจจุบัน ที่มีความยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนบทบาทของสมาชิกชุมชนได้อย่างเข้าใจกัน เข้าใจและยอมรับการเป็น ผู้นำร่วม และสามารถปรับตนเป็นผู้ตามได้อย่างเข้าใจ ลดอัตตาตนเอง และเคารพในการอยู่ร่วมกัน

SEP 40738 ปฏิบัติการโครงงานกสิกรรมธรรมชาติ 2
(Practicum II) 3 (1-2-6)
ศึกษาชุมชนตามลักษณะภูมิสังคม ลงพื้นที่ฝึกปฏิบัติการในพื้นที่จริง เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงปัญหาในการลงมือปฏิบัติในพื้นที่จริง ความสำคัญของเครือข่ายในการเป็นพี่เลี้ยง และการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่จริง โดยเข้าใจถึงแก่นของปรัชญาคือ “การให้” จากพระราชดำรัส Our Loss is Our Gain

แขนง นวัตกรรมผู้ประกอบการสังคม (Innovation for Social Entrepreneur)

SEP 20739 หลักการพื้นฐานบรรษัทกับความรับผิดชอบทางสังคม
(Corporate Social Responsibility Basis: CSR) 3(3-0-6)
ศึกษาแนวคิด, ความเป็นมา พัฒนาการของ CSR ผลกระทบทางสังคม การเมืองและสิ่งแวดล้อม จากการทำ CSR ทั้งจากองค์กรต่าง ๆ และองค์กรข้ามชาติ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการตระหนักรู้ต่อบทบาทของการทำ CSR ขององค์กรต่าง ๆ รวมถึงทุนข้ามชาติที่เข้ามาทำ CSR ในประเทศไทย และร่วมกันแลกเปลี่ยนในวงสนทนา เพื่อหาข้อสรุปว่าการทำ CSR ที่สร้างประโยชน์ให้สังคมได้อย่างยั่งยืนนั้นควรเป็นอย่างไร

SEP 20740 การสื่อสารด้วยความเข้าถึงใจอย่างลึกซึ้ง
(Deeply Connected Communication) 3(1-2-6)
แนวทางการสื่อสารบนพื้นฐานของความเข้าใจถึงใจอย่างลึกซึ้ง หลักการสื่อสารเบื้องต้น คือ การสังเกตอย่างตรงไปตรงมา การตระหนักรู้ความรู้สึก การเท่าทันความต้องการและการสื่อสารด้วยความเมตตา การฝึกปฏิบัติสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง เพื่อความเข้าใจที่ลึกซึ้งและยั่งยืน

SEP 20741 นวัตกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์
(Innovation of Human Capital Development) 3(1-2-6)
เข้าใจในพฤติกรรมของมนุษย์ การอยู่ร่วมกันในสังคม เรียนรู้จากการเติบโตภายในตนเองของผู้คนในชุมชนผสานกับการทำโครงงาน โดยสามารถเริ่มต้นทำสิ่งเล็ก ๆ และขยายผลในวงกว้าง ไปสู่การขับเคลื่อนเชิงนโยบายทางสังคม

SEP 30742 หลักการตลาดเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
(Marketing for Community Enterprise Development) 3 (2-1-6)
ศึกษาหลักการ, ทฤษฎี และเครื่องมือ ทางการตลาด ในการส่งเสริมธุรกิจในชุมชน โดยศึกษาตัวอย่างกลยุทธ์ทางการตลาดที่ถูกใช้โดย SME และร่วมกัน วิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อหารูปแบบ และวิธีการที่เหมาะสมในบริบทของชุมชนในพื้นที่ปฏิบัติงาน แล้วนำมาประยุกต์ทดลองใช้ในการทำโครงงาน ผู้เรียนจะต้องสามารถเขียนแผนการตลาดของโครงงาน ที่มีองค์ประกอบของหลัก 4Ps ได้แก่ สินค้า, ราคา, ช่อทางจัดจำหน่าย และ ช่องทางการสื่อสาร โดยจะต้องมีการลงลายละเอียดของแต่ละองค์ประกอบเพื่อให้เป็นแผนที่สามารถนำไปใช้ได้จริง

SEP 30743 เศรษฐศาสตร์แนวพุทธเพื่อการประกอบการสังคม
(Buddhist Economics for Social Entrepreneurship) 3 (3-0-6)
ศึกษาความสำคัญของเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ ความแตกต่างจากเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก ในการประกอบอาชีพและการมีส่วนร่วมของมนุษย์ด้านการบริโภค การผลิต การกระจายผลผลิต ภายใต้บริบทเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ ทั้งบทบาทภาครัฐ กลไกรัฐ กลไกการตลาด เพื่อการประกอบการสังคมอย่างยั่งยืน

SEP 40744 การจัดการตราสินค้าและพัฒนาบรรจุภัณฑ์
(Basic of Product Branding and Packaging) 3 (2-1-6)
ศึกษาหลักการ และทฤษฎีของสัญลักษณ์วิทยา โดยเรียนรู้จากการศึกษาและเปรียบเทียบ ตัวอย่างสัญลักษณ์ ที่ถูกใช้สื่อความหมาย ในโลกตะวันออก และตะวันตก แล้วจึงทำการทดลองออกแบบ ตราสินค้าที่สามารถถ่ายทอด อัตลักษณ์ของสินค้าหรือบริการของโครงงานได้อย่างครบถ้วน
ศึกษา หลักการ และแนวคิดพื้นฐาน ในการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยศึกษาเปรียบเทียบ ข้อดี ข้อเสีย ของบรรจุภัณฑ์ที่ใช้วัสดุสังเคราะห์กับแบบธรรมชาติ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและธุรกิจ จากการเรียนรู้นี้ผู้เรียนจะสามารถสร้างความเข้าในการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของตนเอง เพื่อนำไปทดลองออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สอดคล้องกับบริบทในชุมชนและต้นทุนทางธุรกิจ

SEP 40745 แผนที่ชีวิต
(Life Map) 3 (1-2-6)
องค์ประกอบของชีวิตและธรรมชาติของสรรพสิ่ง เหตุปัจจัยของปรากฏการณ์ในชีวิต การฝึกฝนตนเองบนเส้นทางชีวิตและ ความตระหนักรู้ในแผนที่ชีวิตของตนเอง

หมวดวิชาเลือกเสรี (ทุกแขนง) เลือกเรียนอย่างน้อย 10 หน่วยกิต

SEP 20801 การบริหารจัดการด้วยผู้เรียน
(Essential Managerial Skills) 2 (1–2–3)
การศึกษาและออกแบบการบริหาร การบริหารจัดการในโรงเรียนโดยผู้เรียน เพื่อให้ได้รับประสบการณ์ มีการฝึกปฏิบัติ และผู้เรียนมีทักษะชีวิตในการบริหารจัดการ ซึ่งนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานได้

SEP 20802 การตลาดและการจัดซื้อ
(Marketing Procurement Strategy) 2 (1–2–3)
ศึกษาและเรียนรู้กระบวนการการจัดซื้อจัดจ้างขององค์กรโดยการมีส่วนร่วมในกระบวนการการตลาดและการจัดซื้อ ได้แก่ การสำรวจราคาสินค้า การพิจารณาความราคาสินค้า การพิจารณาคุณภาพสินค้า การมีส่วนร่วมในการจัดซื้อ การตรวจรับสินค้า เพื่อให้มีความรู้และประสบการณ์ในการบริหารจัดการกระบวนจัดซื้อทุกขั้นตอนขององค์กร และนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างมั่นคงและยั่งยืนได้

SEP 20803 สิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพ
(Environment for Health) 3 (2-1-6)
ศึกษาความหมาย ความสำคัญของสิ่งแวดล้อม มลพิษ สารพิษ การเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคจากสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสังคม และฝึกการจัดการสิ่งแวดล้อม ตามหลักการแพทย์วิถีธรรม เพื่อเอื้อต่อการมีสุขภาพดี

SEP 20804 อาหารและการปรุง
(Culinary Arts) 3 (1-2-6)
ศึกษาความสำคัญของอาหารต่อคุณภาพชีวิต การเลือกวัตถุดิบและการปรุงอาหาร การปรุงอาหารคาว หวาน ตามสูตรอาหารที่แตกต่างกันตามภูมิ-สังคมและอาหารนานาชาติเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงอารยธรรมอาหารของไทยและนานาชาติ ที่มาจากความเข้าใจวัตถุดิบอาหารชนิดต่างๆ และได้ตระหนักถึงรสชาติที่แตกต่างกันของพืชอาหารที่เพาะปลูกเองตามหลักกสิกรรมธรรมชาติ กับพืชผลจากตลาด มีความรักและความเคารพต่ออาหาร

SEP 30805 โครงการธุรกิจนักเรียนเพื่อพัฒนาสังคม
(Fundamental Principle on Business Project) 2 (1–2–3)
ศึกษาและดำเนินการทำโครงงานธุรกิจเพื่อสังคม โดยการเขียนโครงงานนำเสนอแผนธุรกิจ เพื่อนำเสนอ และขออนุมัติกู้ยืมไปดำเนินการธุรกิจเพื่อสังคม โดยจัดสรรกำไรเป็น 3 ส่วน (100%) ได้แก่ เป็นเงินเก็บสะสม รายได้ระหว่างเรียน และช่วยเหลือสังคม เพื่อให้มีความรู้ในการนำไปประกอบธุรกิจเพื่อสังคม สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างมั่นคงและยั่งยืน

SEP 30806 ปฏิบัติการดนตรีไทย
(Thai Traditional Music Practice) 3 (1-4-4)
ศึกษาแนวคิดและประวัติศาสตร์การก่อกำเนิดของดนตรีไทยในยุคสมัยต่างๆ อิทธิพลและการเปลี่ยนแปลงของดนตรีไทยที่เกิดจากปัจจัยภายในและภายนอก ศึกษาบทบาทหน้าที่ ของดนตรีไทยในงานพิธีต่างๆ ฝึกซ้อมและปฏิบัติการแสดงจริงในรูปแบบประเพณีนิยมและดนตรีไทยประยุกต์ เป็นต้น เพื่อให้นักศึกษามีทักษะพื้นฐาน นำทักษะไปเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตละครประสานสังคมร่วมสมัย ทั้งในฐานะผู้แสดงเอง และในฐานะผู้ผลิตละคร

SEP 30807 แพทย์และสมุนไพร
(Thai Medicines) 3 (1-2-6)
ศึกษาแพทย์แผนไทยและสมุนไพรเพื่อการดูแลตนเองเบื้องต้น สมุนไพรพื้นบ้านและการกินอาหารเป็นยา การนวด ประคบ และการดูแลสุขภาพองค์รวม เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงอารยธรรมด้านการแพทย์ของไทยที่เหมาะสมกับภูมิสังคมไทย ตระหนักถึงคุณค่าของแพทย์และสมุนไพรไทย

SEP 30808 ผ้าและสิ่งทอ
(Thai Traditional Textile) 3 (1-2-6)
ศึกษาเรื่องผ้าและการทอผ้าจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ฝ้าย ไหม การทอผ้าตามวิถีวัฒนธรรมต่างๆ เทคนิคการทอและการเลือกลาย สิ่งทอในวิถีชีวิตของแต่ละภูมิ-สังคมเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงอารยธรรมการทอผ้าที่สะท้อนถึงภูมิสังคม ความเชื่อ ภูมิปัญญาที่แตกต่างกัน ตระหนักถึงความเป็นมาอันยาวนานของอารยธรรมของแผ่นดิน

SEP 30809 เครื่องมือและช่างกสิกรรม
(Agricultural Equipment Maintenance & Technician) 3 (1-2-6)
ศึกษาการผลิตเครื่องมือช่างกสิกรรม การประกอบเครื่องมือช่างกสิกรรม อาทิ จอบ เสียม แวก รู้จักเครื่องมือชนิดต่างๆ และความเหมาะสมในการใช้เครื่องมือแต่ละประเภท การเก็บรักษาและซ่อมบำรุง เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงภูมิปัญญาด้านเครื่องมือช่างที่ใช้ในการเกษตร การกสิกรรม ที่แตกต่างตามภูมิสังคม สามารถผลิต ซ่อม และใช้เครื่องมือได้อย่างเหมาะสม

SEP 30810 การจัดการขยะ
(Waste Management) 3 (1-2-6)
ศึกษาการแยกขยะ การจัดการขยะแต่ละแบบ ทั้งการนำกลับมาใช้ใหม่ นำไปทำปุ๋ย นำไปซ่อมแซมและจำหน่าย การกำจัดขยะอันตราย การบริหารจัดการขยะในครัวเรือน และชุมชน เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงความสำคัญของการแยกขยะ จนตระหนักและแยกขยะในวิถีชีวิตเพื่อลดปริมาณขยะที่จะส่งผลกระทบต่อโลกในอนาคตอย่างมาก

SEP 30811 พลังงานทดแทน
(Alternative Energy) 3 (1-2-6)
ศึกษาและเรียนรู้ พลังงานทดแทนและการผลิตพลังงานทดแทนขึ้นเอง เช่น ไบโอดีเซลส์ แก๊สชีวภาพ พลังงานแสงอาทิตย์ การคำนวณการใช้พลังงานทดแทนในบ้านและการออกแบบการใช้พลังงานทดแทนชนิดต่างๆ ที่เหมาะสม การติดตั้งพลังงานทดแทนเพื่อใช้ในครัวเรือน และชุมชนเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงความสำคัญของพลังงานทดแทนที่สามารถลดปริมาณการใช้พลังงานจากฟอสซิลที่ส่งผลกระทบต่อสภาวะอากาศของโลกได้ มีความสามารถในการพึ่งตนเองด้านพลังงาน

SEP 40812 การวิจัยเบื้องต้นด้านการประกอบการสังคม
(Basic Research for Social Enterprise) 3 (1–2–6)
ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การปรับประยุกต์กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในด้านการประกอบการสังคม เรียนรู้เรื่องการกำหนดกรอบเบื้องต้นในการศึกษาเพื่อสืบค้นข้อมูลการกำหนดประเด็นและพื้นที่ในการศึกษาพร้อมทั้งเรียนรู้เทคนิคการเก็บข้อมูล

SEP 40813 การบริหารกองทุนธุรกิจเงินกู้สำหรับนักเรียนและผู้ปกครอง
(Rural Finance Management) 2 (1–2–3)
ศึกษากระบวนการจัดตั้ง การบริหารจัดการ การมีส่วนร่วมของนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน และฝึกปฏิบัติร่วมกับผู้ปกครองนักเรียน เพื่อให้เกิดขึ้นได้จริงและเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนที่ส่งเสริมให้เกิดรายได้ทั้งแก่นักเรียน ผู้ปกครอง

SEP 40814 หลักการให้ความช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส
(Humanitarian Aid) 2 (1–2–3)
ศึกษาประเภทของผู้ด้อยโอกาส และเข้าใจหลักการ วิธีการช่วยเหลือกลุ่มผู้ด้อยโอกาสในชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยการอบรมส่งเสริมอาชีพ จัดหาแหล่งทุนเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยที่เป็นธรรม ให้ความรู้เรื่องการประกอบธุรกิจมีรายได้และมีคุณภาพชีวิตที่มั่นคงและยั่งยืนอย่างแท้จริง

SEP 40815 ปรัชญาในภาพยนตร์
(Philosophy in Film) 3 (1-2-6)
ศึกษาแนวคิดทางปรัชญาของนักปรัชญาตะวันตกและตะวันออก ผ่านภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างชุมชน การสร้างสังคม และการสร้างธุรกิจ ฝึกวิเคราะห์สัญศาสตร์ ถอดความหมายจากสัญลักษณ์ที่ปรากฏในภาพ เพื่อใช้เป็นทักษะในการวิเคราะห์บริบทชุมชนและสังคมในด้านค่านิยม และการให้คุณค่าของแต่ละสังคม

SEP 40816 การผลิตอาหารเพื่อชุมชน
(Food Production for Local Community) 3 (1-2-6)
ศึกษาและปฏิบัติการผลิตอาหารเพื่อชุมชน โดยเน้นที่การปลูกพืชแบบผสมผสาน จนมีผลผลิตที่หลากหลายและสมดุลกับระบบนิเวศน์ ไม่ใช้สารเคมี และสามารถเลี้ยงชุมชนขนาดเล็กได้จริง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพึ่งตนเองได้ ลดภาระค่าใช้จ่ายและเงื่อนไขส่วนเกินของชีวิต ไม่เป็นภาระใคร จนสามารถใช้เวลาและความสามารถไปกับการประสานสังคมร่วมสมัยด้วยละครได้อย่างเต็มที่

SEP 40817 การสร้างที่อยู่อาศัยเพื่อชุมชน
(Housing for Local Community) 3 (1-4-4)
ศึกษาและปฏิบัติการสร้างที่อยู่อาศัยจากวัตถุดิบในพื้นที่ของชุมชน เช่นการสร้างบ้านดิน บ้านไม้ไผ่ ศึกษาการออกแบบจัดวางผังชุมชน ให้สอดคล้องกับการอยู่ร่วมกันทั้งคนและธรรมชาติ ศึกษาระบบพลังงานทดแทนและพลังงานสะอาด เช่นพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลมเพื่อนำมาใช้ในชุมชนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถพึ่งตนเองได้ ลดภาระค่าใช้จ่ายและเงื่อนไขส่วนเกินของชีวิต ไม่เป็นภาระใคร จนสามารถใช้เวลาและความสามารถไปกับการประสานสังคมร่วมสมัยด้วยละครได้อย่างเต็มที่

SEP 40818 มนุษย์ศาสตร์เชิงบูรณาการ
(Integrated humanities) 3 (1-2-6)
ศึกษาการความเชื่อมโยงของศาสตร์ต่างๆ ตั้งแต่วัตถุประสงค์แรกเริ่มของศาสตร์นั้นๆ จนถึงพัฒนาการและการประยุกต์ใช้เพื่อภารกิจที่แตกต่างกันออกไป นักศึกษาจะวิเคราะห์อาชีพของผู้ประกอบการสังคมในชุมชนและเชื่อมโยงกับศาสตร์ต่างๆอย่างมีระบบ เพื่อให้เห็นองค์รวมของทั้งวิธีคิด ทฤษฎี การปฏิบัติจริง และผลของการปฏิบัติ

SEP 40819 การแสดงเดี่ยว
(Solo Theatrical Performance) 3 (1-4-4)
ศึกษาการแสดงเดี่ยวในฐานะที่เป็นเครื่องมือสำหรับการเล่าเรื่องในบริบท ต่างๆ เช่น การเทศน์ของนักบวช การสอนแบบ Lecture การเจรจาหว่านล้อมทางการค้า การพูดในที่ประชุมชน การอ่านบทกวี การแสดงแบบด้นสด และการแสดง Monologue ปฏิบัติการผลิตละครที่ใช้การแสดงเดี่ยว จัดแสดงจริงในประเด็นเนื้อหาที่กำหนดเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติการแสดงเดี่ยวรูปแบบต่างๆจนมีทักษะพื้นฐาน นำทักษะไปเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตละครประสานสังคมร่วมสมัย ทั้งในฐานะผู้แสดงเอง และในฐานะผู้ผลิตละคร

SEP 40820 การเขียนบทความวิชาการ
(Academic Article) 3 (2-1-6)
ศึกษาความหมาย ความสำคัญของบทความวิชาการ วัตถุประสงค์ วิธีการหาแหล่งข้อมูล การเขียนโครงเรื่อง ส่วนประกอบ การตีพิมพ์เผยแพร่ หลักเกณฑ์สำหรับพิจารณามาตรฐานบทความวิชาการ และการหาแหล่งตีพิมพ์ ฝึกการเขียนบทความวิชาการ เพื่อสร้างความรู้และทักษะในการเขียน นำเสนอและเผยแพร่บทความวิชาการ

SEP 40821 การแก้ไขปัญหาวิกฤติสังคมตามหลักพุทธธรรมและเศรษฐกิจพอเพียง (Resolving the Social Crisis in accordance with Buddhist Moral Code and Sufficiency Economy) 3 (2-1-6)
ศึกษาความหมาย ความสำคัญของปัญหาวิกฤติสังคม รูปแบบการดำเนินชีวิต เรียนรู้รากเหง้าของปัญหาในโลกที่เกิดจากการกิเลส โลภ โกรธ หลง ที่มีผลต่อการสร้างปัญหาวิกฤติสังคม และแนวทางการแก้ไขปัญหาวิกฤติสังคมตามหลักพุทธธรรม ด้วยหลัก อริยสัจ 4 เทคนิคการทำดีและวางใจด้วยหลักพรหมวิหาร 4 และบูรณาการด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง ฝึกทักษะการแก้ไขปัญหาของตนเองและวิกฤติสังคมตามหลักพุทธธรรมและเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างความรู้และทักษะในการแก้ไขปัญหาของตนเอง และปัญหาวิกฤตสังคมตามหลักพุทธธรรมและเศรษฐกิจพอเพียง

SEP 40822 ขยะวิทยา
(Waste Management) 3 (2-1-6)
ศึกษาความหมายและความสำคัญของขยะวิทยา กระบวนการบริหารจัดการขยะ ปริมาณและองค์ประกอบขยะมูลฝอยสิ่งปฏิกูลและกากของเสียที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีการออกแบบเตาเผาและที่ฝังกลบขยะอย่างง่าย การนำขยะมูลฝอยสิ่งปฏิกูลและกากของเสียไปใช้ประโยชน์ (Recycling) การสร้างจิตสำนึกในการมีส่วนร่วมกันรับผิดชอบฝึกการคัดแยกขยะ การนำขยะไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เพื่อให้ผู้เรียนได้มีความรู้และทักษะในการบริหารจัดการขยะ รวมทั้งเกิดจิตสำนึกและตระหนักในการลดปริมาณขยะของตนเองและในชุมชนที่มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

โอกาสหลังจบการศึกษา
มีอาชีพ หรือทำการประกอบการของตนเอง
มีเครือข่าย ผู้ประกอบการสังคม
เป็นผู้นำชุมชนในการเปลี่ยนแปลงสังคมเชิงสร้างสรรค์

ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพต่างๆ ดังนี้
• นักพัฒนาชุมชนและสังคม
• ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
• ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องที่
• ผู้บริหารองค์กรพัฒนาในชุมชน
• ผู้นำชุมชนและผู้บริหารงานอาสาสมัครของชุมชนและสังคม
• ผู้ประกอบการสังคมในชุมชน
• นักธุรกิจเพื่อสังคม
• นักจัดการสุขภาพแบบองค์รวม
• นักการละครเพื่อการประกอบการสังคม
• นักจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง
• ผู้ประกอบการสังคมด้านการเกษตร

คณาจารย์
อัตราค่าธรรมเนียมและค่าเล่าเรียน

อัตราค่าลงทะเบียนตลอดหลักสูตร

ก.ค่าธรรมเนียมในการสมัครและสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ
ทุกหลักสูตร 700 บาท (ชำระเมื่อยื่นใบสมัคร)

ข.ค่าธรรมเนียมขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา*
(เฉพาะภาคศึกษาแรกที่เข้าศึกษา) 1,000 บาท

ค.ค่าบำรุงการศึกษา (อัตราต่อภาคการศึกษา)
ค่าบำรุงกิจกรรมเสริมหลักสูตร
1,000 บาท
ค่ากิจกรรมนักศึกษาและกิจกรรมกีฬา
1,000 บาท
ค่าบำรุงห้องพยาบาลและเวชภัณฑ์
1,000 บาท
ค่าบำรุงสารสนเทศและอินเตอร์เน็ต
1,500 บาท
ค่าบำรุงห้องสมุด
1,500 บาท
ค่าอุปกรณ์ปฏิบัติการเชิงวิชาชีพ *
2,000 บาท

ง.ค่าลงทะเบียนหน่วยกิต
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาผู้ประกอบการสังคม
หน่วยกิตละ     1,000 บาท

จ.ค่าลงทะเบียนหน่วยกิตแบบเหมาจ่ายเฉพาะหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาผู้ประกอบการสังคม
จำนวนเงิน  149,000 บาท
ให้นักศึกษาชำระภาคการศึกษาแรก จำนวน 19,500 บาท และ ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่สองภาคการศึกษาละ 18,500 บาท ทั้งนี้  ยกเว้นค่าบำรุงห้องพยาบาลและเวชภัณฑ์ และค่าอุปกรณ์ปฏิบัติการเชิงวิชาชีพ  มีรายละเอียดดังนี้

-ค่าบำรุงการศึกษาและค่าลงทะเบียนหน่วยกิต
ภาคการศึกษาละ 18,500 บาท ระยะเวลา 4 ปี จำนวน 148,000 บาท
– ค่าธรรมเนียมขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา
1,000 บาท ในภาคการศึกษาแรก

หมายเหตุ : อัตราค่าลงทะเบียนหน่วยกิตแบบเหมาจ่ายทุกหลักสูตร ยังไม่รวม ค่าธรรมเนียมในการสมัคร/สอบคัดเลือก ค่าใช้จ่ายช่วงสำเร็จการศึกษา ค่าใช้จ่ายในการออกภาคสนาม ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในระหว่างการเรียนการสอน 

ฉ.ค่าธรรมเนียมเบ็ดเตล็ด
• ค่าปรับลงทะเบียนเรียนล่าช้ากว่ากำหนด
โดยมีระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน (วันละ) 200 บาท
หากมีความจำเป็นขอให้ทำหนังสือชี้แจงมายังสถาบันฯเพื่อพิจารณา มิฉะนั้นการลงทะเบียนนั้นเป็นโมฆะ

• ค่าธรรมเนียมรักษาสถานภาพนักศึกษา
ระดับปริญญาตรี และประกาศนียบัตรบัณฑิต (ภาคการศึกษาละ) 1,000 บาท

• ค่าหนังสือแสดงผลการศึกษา
150 บาท

• หนังสือรับรองสถานภาพการเป็นนักศึกษา
150 บาท

• ค่าขอเทียบโอนวิชาจากสถาบันอื่น
(ครั้งละ) 1,500 บาท

• ค่าธรรมเนียมนำเสนอโครงร่างและสอบป้องกันวิทยานิพนธ์
5,000 บาท

• ค่าธรรมเนียมบัตรนักศึกษาที่ขอใหม่
(ใบละ) 200 บาท

• ค่าธรรมเนียมช่วงสำเร็จหลักสูตร
5,000 บาท

• ค่ากิจกรรมภาคสนามในประเทศและต่างประเทศ
พิจารณาตามความเหมาะสม

ช. ค่าปรับการส่งหนังสือห้องสมุดเกินกำหนด
•หนังสือทั่วไป
(เล่ม/วันละ) 10 บาท
•หนังสือจอง
(เล่ม/ชั่วโมง) 10 บาท
•หนังสือจอง
(วันละ) 80 บาท

ปฏิทินการศึกษา
FAQ คำถามที่พบบ่อย

1.หลักสูตรได้รับการรับรองจาก สกอ. หรือไม่
หลักสูตรได้รับการพิจารณารับทราบให้ความเห็นชอบจาก สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2555

2.เรียนจบแล้วได้ปริญญาอะไร
เมื่อเรียนครบหน่วยกิตตามโครงสร้างของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาผู้ประกอบการสังคม นักศึกษาจะได้รับปริญญา ศิลปศาสตรบัณฑิต (ผู้ประกอบการสังคม)

3.เรียนกี่ปีจบ
การเรียนในหลักสูตร ใช้เวลาศึกษาตลอดหลักสูตร 4 ปี ตามแผนการเรียนการสอนของหลักสูตร

4.เทียบโอนจากมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ได้หรือไม่ ถ้าได้ต้องทำอย่างไร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาผู้ประกอบการสังคม สามารถเทียบโอนรายวิชาได้ตามประกาศการเทียบโอนของสถาบันอาศรมศิลป์ โดยมีหลักเกณฑ์การเทียบโอนวิชาเรียนและโอนหน่วยกิต จากสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่ได้รับการรับรองจากสถาบันคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) โดยรายละเอียดสามารถดาวน์โหลดได้จากหน้าเว็บไซด์ของสถาบันว่าด้วยเรื่องหลักเกณฑ์การเทียบโอนรายวิชา

5.ค่าเล่าเรียน เท่าไหร่ จ่ายที่ไหน
ค่าเล่าเรียนจนจบหลักสูตร (4 ปี) จำนวน 148,000 บาท หรือ 18,500 บาท/ภาคการศึกษา
ไม่รวม
• ค่าธรรมเนียมขึ้นทะเบียนนักศึกษา (ชำระครั้งเดียวในภาคการศึกษาแรก)
• ค่าใช้จ่ายในการออกพื้นที่ศึกษาดูงาน
• ค่าใช้จ่ายประกันอุบัติเหตุ
• ค่าใช้จ่ายสำหรับขั้นตอนการสำเร็จการศึกษา

6.คุณสมบัติของผู้เรียนเป็นอย่างไร
สำหรับคุณสมบัติเป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่าตามที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง

7.ต้องมีกิจการมาก่อนหรือเปล่า
การเข้าศึกษาในหลักสูตรไม่จำเป็นต้องมีกิจการมาก่อนเข้าศึกษาแต่สามารถทำกิจการหรือโครงงานเกี่ยวกับการประกอบการสังคมระหว่างการศึกษาได้ หลังจบการศึกษา ผู้ศึกษาสามารถพัฒนากิจการ และการประกอบการเพื่อสังคมได้

8.เรียนอย่างไร ที่ไหน
การจัดการเรียนการสอนของหลักสูตร เป็นการเรียนรู้ผ่านโครงงาน (Project Base Learning) โดยนักศึกษาต้องทำโครงงานเกี่ยวกับการประกอบการสังคม เพื่อเป็นการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงระหว่างศึกษาในหลักสูตร ซึ่งสร้างรายได้ให้กับตนเองและเกื้อกูลสังคมไปพร้อมกัน

สำหรับการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรจะมีการจัดการเรียนการสอนที่สถาบัน นอกจากนั้นยังเน้นให้นักศึกษาได้เรียนรู้ผ่านการจัดทำโครงงานของนักศึกษาเอง และการเรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ของภาคีเครือข่ายที่สถาบันได้มีข้อตกลงร่วมในการแลกเปลี่ยนร่วมกันระหว่างสถาบัน

9.สมัครออนไลน์ไม่ได้ ขึ้น error ทำอย่างไรดี
หากมีปัญหาในการสมัครออนไลน์ ให้ติดต่อมายังฝ่ายทะเบียน
Email : [email protected]
เบอร์โทร 02-4904748 ต่อ 110

10.อยากทราบเวลาเรียน
ในวันจันทร์-ศุกร์ ทำการเรียนการสอนในวันจันทร์ – ศุกร์ หรือในวันเสาร์ – อาทิตย์ในบางสัปดาห์

11. เปิดและปิดเทอมช่วงไหน
ตามปฏิทินการศึกษาของสถาบัน เปิดเทอมภาคที่ 1 เดือน สิงหาคม และปิดเทอม เดือนธันวาคม
ในภาคที่ 2 เปิดเทอมเดือน กุมภาพันธ์ และปิดปลายเดือน พฤษภาคม 

12.ไม่ทราบว่ามีการเรียนการสอนหลักสูตรนี้ผ่านมากี่รุ่นแล้ว หรือว่าเปิดสอนมานานเท่าไหร่แล้ว
หลักสูตรเปิดสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.2555 มีบัณฑิตสำเร็จการศึกษาไปทั้งหมด 4 รุ่น

13.ส่วนการสมัครจะใช้เอกสารของมัธยมปลายเท่านั้นใช่ไหม หรือว่าวุฒิสูงกว่านั้นได้
ใช้วุฒิมัธยมศึกษาตอนปลาย

14.สอบข้อเขียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง
ข้อสอบจะมี 2 ชุด ชุดที่ 1 วัดความรู้ทั่วไป และชุดที่ 2 วัดความรู้เฉพาะสาขาวิชา

15.ไม่ทราบว่าจะต้องมีเอกสารแนบอื่นๆ ด้วยไหม
เมื่อกรอกใบสมัครแล้ว ปริ้นท์เอกสาร เซ็นลงนาม พร้อมแนบ วุฒิการศึกษา สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชน และใบเสร็จโอนเงินค่าสมัคร เข้ามาส่งที่สถาบัน หรือส่งทางไปรษณีย์ตามที่อยู่
สถาบันอาศรมศิลป์ (หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต)
เลขที่ 399 ซอยอนามัยงามเจริญ 25 แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียนกรุงเทพฯ 10150

 

ผลงานและกิจกรรม

Zero Baht Project
ใช้ชีวิต 1 ปี กับ "เงิน 0 บาท"
เรื่องราวของ นักศึกษาชาวภูฏาน 4 คน ที่มาเรียนรู้ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง การตามรอยพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 9 กับ อาจารย์ยักษ์ ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร และประกอบการสังคม . ด้วยโครงการนำร่อง Zero Baht Project : ใช้ชีวิต 1 ปี กับ "เงิน 0 บาท" เรียนรู้เติบโตไปกับอาจารย์จิตอาสา ในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาผู้ประกอบการสังคม สถาบันอาศรมศิลป์