Home / Curriculum / Master / Master of Architecture, major in Architecture for Community and Environment
Cirriculum
- Bachelor's Degree
- Department of Architecture
- Department of Education, major in Childhood Education
- Department of Social Entrepreneur (Bachelor of Arts)
- Master's Degree
- Department of Architecture for the Community and Environment
- Master Degree in Education, major in Holistic Education
- Diploma
- Graduate Diploma in Teaching Profession
- Shortcourses Programs
- First Step Community
- Meditative Art
Master of Architecture, major in Architecture for Community and Environment
สร้างสถาปนิกเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent)
ที่เข้าใจบริบทชุมชนสังคม
โดยผ่านการเรียนรู้แบบลงมือทำจริงกับผู้มีประสบการณ์ ร่วมกันพัฒนาโครงการและการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมและฟื้นฟูย่านเก่า ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถทำโครงการที่สร้างโอกาสของชุมชน ยกระดับความเป็นเจ้าของ และรองรับวิถีชีวิตของผู้คนได้จริง ทั้งในแง่ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาสถาปัตยกรรมเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ภาษาอังกฤษ Master of Architecture Program in Community and
Environmental Architecture
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย ชื่อเต็ม สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สถาปัตยกรรมเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม)
ชื่อย่อ สถ.ม. (สถาปัตยกรรมเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม)
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม Master of Architecture (Community and Environmental Architecture)
ชื่อย่อ M.Arch. (Community and Environmental Architecture)
วิชาเอก
–
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
39 หน่วยกิต
รูปแบบของหลักสูตร
หลักสูตรระดับปริญญาโท 2 ปี (เน้นการบูรณาการด้านทฤษฏีและปฏิบัติ)
ภาษาที่ใช้ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
การรับเข้าศึกษา
รับเฉพาะนักศึกษาไทย และนักศึกษาต่างชาติที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี
ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
เป็นหลักสูตรเฉพาะของสถาบันที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง
การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
• สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาสถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม ที่ผ่านการรับรองวิทยฐานะโดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) และ สภาสถาปนิกฯ
• ผ่านการสอบคัดเลือกข้อเขียนและการสอบสัมภาษณ์ ตามเกณฑ์ของสถาบันอาศรมศิลป์
กลุ่มวิชาพื้นฐาน
ASI 401 มงคลชีวิตและวิถีสุขภาวะแบบองค์รวม ไม่นับหน่วยกิต
Contemplative Practices and Holistic Health Care
วิชาปฏิบัติการเพื่อสร้างพื้นฐานการพัฒนาชีวิต ด้วยการฝึกฝนและบ่มเพาะญาณทัศนะ โดยอาศัยกัลยาณมิตรและชุมชนที่สมานฉันท์ ผ่านกระบวนการแห่งภาวนา 4 คือ ศีลภาวนา กายภาวนา จิตตภาวนา และปัญญาภาวนา รวมทั้งการสร้างสุขภาวะแบบองค์รวมผ่านกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่างๆ ของสถาบันอาศรมศิลป์ โดยเชื่อมโยงกับจิตวิทยาพื้นฐาน จิตวิทยาการศึกษาและจิตวิทยาการแนะแนวและให้คำปรึกษา
ASI 402 สาระสัญจรและธรรมชาติวิจักขณ์ ไม่นับหน่วยกิต
Field Study and Nature Appreciation
ศึกษาธรรมชาติ และชุมชนเพื่อเข้าถึงวิถีชีวิต และคุณค่าด้วยผัสสะทั้ง 6 คือตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ โดยอาศัยกระบวนการอยู่ร่วมกับชุมชน และเรียนรู้อย่างหลากหลายมิติทั้งเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และโครงสร้างทางกายภาพ การเรียนรู้ท่ามกลางธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมเพื่อให้ได้สาระและตระหนักถึงคุณค่า การบันทึกประสบการณ์ที่ได้รับ ถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้สู่ผู้อื่น และสามารถประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตของตนและชุมชนต่อไป
ASI 403 ภาษาและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ ไม่นับหน่วยกิต
Language and Communication Technology for Learning
การประยุกต์ใช้ภาษา ทั้งภาษาไทยและภาษา ต่างประเทศอย่างมีหลักการ ในการสื่อสารแปลความจับประเด็นจากการอ่านและการเขียนได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับสถานการณ์ที่หลากหลาย รวมทั้งมีทักษะในการสืบค้นและเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆไม่ว่าจะเป็น อินเตอร์เนต สื่อมัลติมีเดีย ฯลฯ เพื่อแสวงหาความรู้ในการเข้าถึง บุคคล แหล่งความรู้และแหล่งเรียนรู้ต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการใช้ภาษาในการสื่อสารให้เข้าถึงองค์ความรู้สามารถถ่ายทอดขยายผลสู่การเขียนงานเชิงวิชาการ และการนำเสนองานผ่านสื่อมัลติมีเดียและสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศในแบบต่างๆ ให้เกิดสัมฤทธิ์ผลได้
กลุ่มวิชาบังคับ
CEA 501 บูรณาการโลกและชีวิตสู่การออกแบบสถาปัตยกรรมอย่างเป็นองค์รวม 3 (3-0-9)
Integrated and Holistic Design in Architecture
บูรณาการความรู้ความเข้าใจระหว่างมนุษย์ โลก และสรรพสิ่งในทุกมิติ ได้แก่ มิติทางมานุษยวิทยา พฤติกรรมศาสตร์ สังคมวิทยา วิทยาศาสตร์กายภาพ สุนทรียศาสตร์ ฯลฯ โดยเชื่อมโยงองค์ความรู้ที่มีอยู่แล้ว และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เพื่อประโยชน์ในการสร้างโจทย์ เงื่อนไข และแนวทางการออกแบบที่ครอบคลุมและเหมาะสมกับบริบท เอื้อต่อการเรียนรู้ปรับปรุงพฤติกรรมทั้งในระดับปัจเจกและกลุ่มสังคมในทางสร้างสรรค์
CEA 502 ถอดรหัสภูมิปัญญาสถาปัตยกรรมตะวันออกและสถาปัตยกรรมไทย 3 (1-4-7)
Wisdom in Eastern and Thai Architecture
ศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมในอดีตที่ยังหลงเหลืออยู่ของ ตะวันออกเพื่อค้นหาแนวความคิดอันแสดงถึงภูมิปัญญาในการแก้ปัญหาการออกแบบที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ภูมิอากาศ วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น และวัฒนธรรมของแต่ละภูมิภาค อันนำมาซึ่งระบบการก่อสร้างและรูปแบบอันเป็นความงามที่เหมาะสมและลงตัว ซึ่งสะท้อนถึงสภาพเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม เพื่อสืบสานแนวทางการออกแบบให้ต่อเนื่องกับปัจจุบันอันเป็นสถาปัตยกรรมร่วมสมัย เน้นการไปศึกษาภาคสนามเพื่อสัมผัสกับตัวอย่างที่มีอยู่จริง ซึ่งจะหมุนเวียนไปศึกษาสถาปัตยกรรมอันเป็นจุดเด่นของแต่ละภูมิภาคของตะวันออก
CEA 503 สถาปัตยกรรม ชุมชนและสิ่งแวดล้อม 3 (1-4-7)
Architecture, Community and Environment
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศของสภาพภูมิศาสตร์ที่มีสภาพต่างๆ ที่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการกำหนดรูปลักษณ์ทางสถาปัตยกรรม และผลกระทบของสถาปัตยกรรมที่มีต่อสภาพภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ
CEA 504 การเรียนรู้จากปัญหาและสถานการณ์จริงในงานสถาปัตยกรรม 3 (0-6-6)
Problem-Based and Project Based Learning in Architecture: Practicum
การฝึกปฏิบัติวิชาชีพในสำนักงานสถาปนิก โดยการกำหนดขอบเขตและตารางการฝึกร่วมกันระหว่างสำนักงานสถาปนิกกับสถาบัน มีการติดตามและประเมินผลเป็นระยะๆ ตลอดการฝึกงาน (ระยะเวลาการฝึกงานไม่น้อยกว่า 40 ชั่วโมง) ปฏิบัติการออกแบบจากสถานการณ์จริง เริ่มตั้งแต่การรวบรวม สืบค้นข้อมูล ความต้องการจากผู้ใช้ ลักษณะภูมิศาสตร์ สภาพแวดล้อมและปัญหา เงื่อนไขที่ตั้งโครงการ เพื่อกำหนดโปรแกรมการออกแบบโครงการ รับฟังความเห็นของผู้ใช้ประกอบในขั้นตอนการออกแบบจนถึงขั้นสุดท้าย
CEA 532 การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อการวางแผนทางสถาปัตยกรรมชุมชนและสิ่งแวดล้อม 3 (1-4-7)
Action Research for Planning in Architecture Community and Environment
ศึกษาปัญหาในการพัฒนาชุมชนในสถานการณ์จริง เพื่อร่วมกำหนดแผนปฏิบัติการ โดยมีเป้าหมาย และลำดับความสำคัญในการวางแผนเพื่อแก้ปัญหาทางสถาปัตยกรรม สิ่งแวดล้อมและชุมชนร่วมกับชุมชน ภายใต้บริบททางสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และทรัพยากรท้องถิ่น
CEA 560 วิทยานิพนธ์ 12 (0-33-15)
Thesis
เป็นการประมวลผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ และการพัฒนาตนอย่างสมบูรณ์ ผ่านกระบวนการทำวิทยานิพนธ์ ผลงานวิทยานิพนธ์เป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานทางวิชาการ และทางวิชาชีพ ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ เมื่อผ่านกระบวนการทำวิทยานิพนธ์แล้ว นักศึกษาจะมีทักษะ และมีความเข้าใจในการทำวิจัย สามารถค้นหาข้อมูลอย่างถูกต้องเป็นระบบ สามารถนำทฤษฎีมาปรับใช้กับการวิจัยอย่างเหมาะสม มีทักษะในการตั้งคำถามเชิงวิเคราะห์ หรือโจทย์วิจัยที่ดี มีความคิดเชิงระบบ และเชิงวิเคราะห์ เป็นผู้เชี่ยวชาญ และมีองค์ความรู้ (Tacit Knowledge) ตลอดจนเกิดการพัฒนาภายในตนเองจากการทำวิทยานิพนธ์
กลุ่มวิชาเลือก
CEA 531 เสวนาสถาปัตยกรรม 3 (1-4-7)
Seminar in Architecture
พัฒนาทักษะการจัดกระบวนการเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ระดมความเห็น วิเคราะห์ วิพากษ์ จัดการความรู้ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกับสถาปัตยกรรม ร่วมกับสถาปนิกมืออาชีพ นักคิด นักวิชาการ เจ้าของโครงการ ชาวบ้าน ฯลฯ เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายในการทำงาน หรือการสร้างแนวคิด นวัตกรรมใหม่ ทางสถาปัตยกรรม
CEA 533 นวัตกรรมการออกแบบ 3 (1-4-7)
Design Innovation
ศึกษากระบวนการพื้นฐานของการคิดและการทำ สิ่งต่างๆ ซึ่งต้องอาศัยการสังเคราะห์ความรู้ตลอดจนประสบการณ์รอบตัวของนักออกแบบ ศึกษาเกี่ยวกับอิทธิพลของสิ่งรอบตัวที่มีส่วนในนวัตกรรมการออกแบบและการสร้างสรรค์ของนักออกแบบ ตลอดจนความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างงานออกแบบและงานสร้างสรรค์สาขาต่างๆ
CEA 534 สุนทรียภาพแห่งชีวิตและความคิดสร้างสรรค์ 3 (1-4-7)
Aesthetics and Creativity
ศึกษาแนวความคิดและพัฒนาการจากทัศนศิลป์และผนวกสาระต่างมิติในสุนทรียศาสตร์สู่บูรณภาพแห่งสถาปัตยกรรม นักปราชญ์ คำนิยาม คำศัพท์ จากความหมายเชิงทฤษฎีในโลกกว้างหยั่งลงสู่การสร้างสรรค์และประยุกต์ให้ปรากฏความชอบ ความพอดี ในบริบทที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น ส่งเสริมวิถีชีวิตที่งดงามและพอเพียง
CEA 535 การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น 3 (1-4-7)
Local Natural Resources and Environmental Management
ศึกษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ทั้งลักษณะสถานภาพ สถานการณ์และปัญหา ด้วยวิธีการ เทคนิคและเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ พร้อมวางแผนแก้ปัญหา อนุรักษ์และส่งเสริมคุณภาพทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นให้ดีขึ้น
CEA 536 การค้นคว้าอิสระ 3 (3-0-9)
Independent Studies
ค้นคว้าและวิจัยเป็นรายบุคคลในประเด็นศึกษาเฉพาะเกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรม โดยการศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร และ/หรือการศึกษาวิจัยภาคสนามโดยได้รับความเห็นชอบและดูแลจากอาจารย์ที่ปรึกษา
CEA 537 เทคโนโลยีที่เหมาะสม 3 (3-0-9)
Appropriate Technology
ศึกษาหลักการพัฒนาและเทคนิควิธีของการใช้วัสดุก่อสร้างที่ได้จากท้องถิ่น การออกแบบอาคารและส่วนประกอบของอาคารเพื่อการใช้ที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงการประหยัดพลังงานพร้อมทั้งได้ความเป็นอยู่ที่ดีและสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ที่ตั้ง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ความแข็งแรงคงทนถาวร การอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
CEA 538 เทคโนโลยีการสื่อสารและนำเสนองาน 3 (1-4-7)
Communication Technology and Presentation
การถอดรหัสคุณค่าแท้ของงานสถาปัตยกรรมเพื่อการสื่อสาร การระบุกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งการออกแบบและใช้เทคโนโลยีในการผลิตสื่อเพื่อสร้างความเข้าใจ ความตระหนักในคุณค่าของงานสถาปัตยกรรม และสร้างแรงบันดาลใจให้กับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์
CEA 541 การอนุรักษ์สถาปัตยกรรม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม 3 (1-4-7)
Architecture Community and Environment Conservation
ศึกษาและสำรวจข้อมูลทางสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนปัจจัยทางสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่น เพื่อทำความเข้าใจคุณค่าเชิงภูมินิเวศน์และนิเวศน์วัฒนธรรมของสถาปัตยกรรมและชุมชน วิเคราะห์ปัญหาและศักยภาพของท้องถิ่น เพื่อนำไปสู่การเสนอแนวทางและแนวความคิดในการจัดการเชิงอนุรักษ์ที่เหมาะสม ปฏิบัติการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม ในขอบเขตของกลุ่มอาคารหรือชุมชน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน และหน่วยงานท้องถิ่น
CEA 542 การประกอบการเพื่ออนุรักษ์ชุมชนเมือง 3 (1-4-7)
Urban Conservation through Social Enterprise
ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและชุมชน การบริหารจัดการธุรกิจเพื่อสังคม รวมถึงศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การคิดค้นรูปแบบการประกอบการที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบททางสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจในพื้นที่ เพื่อให้การอนุรักษ์และฟื้นฟูเมืองสามารถรองรับวิถีชีวิตของผู้คนในปัจจุบันได้จริง โดยไม่สูญเสียคุณค่าแท้ดั้งเดิมของสถาปัตยกรรมและชุมชน ดำเนินการศึกษาผ่านการปฏิบัติจริงร่วมกับเจ้าของอาคารหรือชุมชนเพื่อการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมและสร้างโอกาสให้เกิดผู้ประกอบการจากท้องถิ่น
คณาจารย์ประจำหลักสูตร
อาจารย์ประยงค์ โพธิ์ศรีประเสริฐ
ผู้อำนวยการหลักสูตร
รศ.ร.อ.ชูวิทย์ สุจฉายา ร.น.
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
อาจารย์ธิป ศรีสกุลไชยรัก
อาจารย์ประจำสาขาวิชา
อาจารย์ธนภัทร อานมณี
อาจารย์ประจำสาขาวิชา
อาจารย์ศิวกร สว่างศรี
อาจารย์ประจำสาขาวิชา
คณาจารย์พิเศษ
รองศาสตราจารย์ดุษฎี ทายตะคุ
อาจารย์ขวัญสรวง อติโพธิ
• นักออกแบบและวางแผนพัฒนาด้านสถาปัตยกรรม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม
• นักพัฒนาด้านสถาปัตยกรรม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม
• ผู้ประกอบการสังคมด้านสถาปัตยกรรม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม
• ผู้ประกอบวิชาชีพทางสถาปัตยกรรม และ/หรือ สาขาที่เกี่ยวข้อง
อัตราค่าลงทะเบียนตลอดหลักสูตร (2 ปี)
ก.ค่าธรรมเนียมในการสมัครและสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ
ทุกหลักสูตร 700 บาท (ชำระเมื่อยื่นใบสมัคร)
ข.ค่าธรรมเนียมขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา*
(เฉพาะภาคศึกษาแรกที่เข้าศึกษา) 1,000 บาท
ค.ค่าบำรุงการศึกษา (อัตราต่อภาคการศึกษา)
•ค่าบำรุงกิจกรรมเสริมหลักสูตร
1,000 บาท
•ค่ากิจกรรมนักศึกษาและกิจกรรมกีฬา
1,000 บาท
•ค่าบำรุงห้องพยาบาลและเวชภัณฑ์
1,000 บาท
•ค่าบำรุงสารสนเทศและอินเตอร์เน็ต
1,500 บาท
•ค่าบำรุงห้องสมุด
1,500 บาท
•ค่าอุปกรณ์ปฏิบัติการเชิงวิชาชีพ *
5,000 บาท
ง.ค่าลงทะเบียนหน่วยกิต
หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม หน่วยกิตละ 7,000 บาท
จ.ค่าลงทะเบียนหน่วยกิตแบบเหมาจ่ายเฉพาะหลักสูตร
หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม
จำนวนเงิน 147,000 บาท
ให้นักศึกษาชำระภาคการศึกษาแรก จำนวน 37,500 บาท และ ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่สองภาคการศึกษาละ 36,500 บาท มีรายละเอียดดังนี้
– ค่าบำรุงการศึกษาและค่าลงทะเบียนหน่วยกิต
ภาคการศึกษาละ 36,500 บาท ระยะเวลา 2 ปี จำนวน 146,000 บาท
– ค่าธรรมเนียมขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา
1,000 บาท ในภาคการศึกษาแรก
หมายเหตุ : อัตราค่าลงทะเบียนหน่วยกิตแบบเหมาจ่ายทุกหลักสูตร ยังไม่รวม ค่าธรรมเนียมในการสมัคร/สอบคัดเลือก ค่าใช้จ่ายช่วงสำเร็จการศึกษา ค่าใช้จ่ายในการออกภาคสนาม ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในระหว่างการเรียนการสอน ได้แก่ อุปกรณ์เขียนแบบ อุปกรณ์และวัสดุทำหุ่นจำลองค่าประกันอุบัติเหตุ
ฉ.ค่าธรรมเนียมเบ็ดเตล็ด
1.ค่าปรับลงทะเบียนเรียนล่าช้ากว่ากำหนด
โดยมีระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน (วันละ) 200 บาท
หากมีความจำเป็นขอให้ทำหนังสือชี้แจงมายังสถาบันฯเพื่อพิจารณา มิฉะนั้นการลงทะเบียนนั้นเป็นโมฆะ
2.ค่าธรรมเนียมรักษาสถานภาพนักศึกษา
•ระดับปริญญาโท (ภาคการศึกษาละ) 2,000 บาท
3. ค่าหนังสือแสดงผลการศึกษา
150 บาท
4. หนังสือรับรองสถานภาพการเป็นนักศึกษา
150 บาท
5. ค่าขอเทียบโอนวิชาจากสถาบันอื่น
(ครั้งละ) 1,500 บาท
6. ค่าธรรมเนียมนำเสนอโครงร่างและสอบป้องกันวิทยานิพนธ์
5,000 บาท
7. ค่าธรรมเนียมบัตรนักศึกษาที่ขอใหม่
(ใบละ) 200 บาท
8. ค่าธรรมเนียมช่วงสำเร็จหลักสูตร
5,000 บาท
9. ค่ากิจกรรมภาคสนามในประเทศและต่างประเทศ
พิจารณาตามความเหมาะสม
ช. ค่าปรับการส่งหนังสือห้องสมุดเกินกำหนด
•หนังสือทั่วไป(เล่ม/วันละ) 10 บาท
•หนังสือจอง (เล่ม/ชั่วโมง) 10 บาท
•หนังสือจอง (วันละ) 80 บาท
Problem-based
ผลงาน | กิจกรรม
เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม