บ้านเดียวกัน

สถาปัตยกรรม เพื่อความเป็นกัลยาณมิตร​

ความเป็นมา

ในอดีตที่สังคมไทยยังเป็นสังคมเกษตรพึ่งตนเอง มีวิถีการอยู่อาศัยเป็นครอบครัวขยายร่วม กันระหว่างเครือญาติในชุมชนดั้งเดิม (TRADITIONAL COMMUNITY) เกิดเป็นคุณค่าใน รูปแบบความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด แน่นแฟ้น ช่วยเหลือเกื้อกูล พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และเป็นรากฐานสำคัญที่ดำรงความเป็นสังคมเข้มแข็ง (SOCIAL COHESION) ของสังคมไทยสืบมาเมื่อสังคมไทยวิวัฒนาการตัวเองมาเป็นสังคมทุนนิยมอุตสาหกรรมเช่น ในปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อวิถีการผลิตและวิถีชีวิตของคน จากการร่วมผลิตใน กลุ่มเครือญาติกลายเป็นแรงงานในระบบอุตสาหกรรม เกิดการอพยพย้ายถิ่นฐานเพื่อให้ สอดคล้องกับแหล่งงานและเกิดความเปลี่ยนแปลงวิถีการอยู่อาศัยจากครอบครัวขยายไป เป็นครอบครัวเดี่ยวที่ต่างคนต่างอยู่ เกิดเป็นวัฒนธรรมของปัจเจกบุคคลที่ทำห้ความเข้มแข็ง ทางสังคมเลือนหายไป โครงการบ้านเดียวกันจึงถูกริเริ่มและผลักดันให้เกิดขึ้นโดยสถาปนิกจากอาศรมสถาปนิกชุมชน และสิ่งแวดล้อม สถาบันอาศรมศิลป์ โดยการชักชวน 6 ครอบครัวซึ่งมีที่มาแตกต่างกัน แต่เห็นประโยชน์ในคุณค่าของวิถีการอยู่ อาศัยเป็นชุมชน ให้ร่วมกันสร้าง “ชุมชนโดยมุ่งหมาย” (INTENTIONAL COMMUNITY) ในรูปแบบของ CO-HOUSING เพื่อพลิกฟื้นระบบคุณค่าในการอยู่อาศัยร่วมกันเช่นเดียวกับ ชุมชนในอดีต ให้กลับมามีชีวิตในยุคสมัยปัจจุบันอีกครั้ง ให้เป็นรากฐานที่นำสังคมไทยไปสู่ การมีสังคมที่เข้มแข็งอย่างยั่งยืนต่อไป

ทำไมต้องอยู่ด้วยกัน ?

“มีเพื่อนบ้านที่ดี สามารถฝากกันและกันดูแล ลูกๆก็จะโตขึ้นมาในสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดี”
“ใครมีข้าวหม้อแกงหม้อก็เอามาแบ่งกัน ขาดเหลือก็พึ่งพากันได้”
“ไม่อยู่บ้านก็ฝากฝังกันดูแลลูกได้ แก่ตัวไปก็มีลูกหลานช่วยกันดูแล”

ในสังคมเมืองใหญ่ที่ ต่างคนต่างอยู่ หลายคนเริ่มย้อนมองกลับไปถึงการมีชีวิตร่วมแบบ “บ้านเดียวกัน” ดังเช่นสังคมในอดีต มองถึงการปลูกบ้านที่ไม่ใช่เพียงการสร้างพื้นที่เพื่อรองรับกิจกรรมการ ใช้สอย แต่เป็นการ “ปลูกชุมชน” ที่จะช่วยเหลือเกื้อกูล ดูแลซึ่งกันและกัน เป็นกัลยาณมิตร ที่เอื้อเฟื้อต่อกันทั้งในวันนี้และชีวิตบั้นปลายในอนาคต

อยู่ด้วยกัน… ก็ดีนะ… แต่จะไม่ยุ่งยากเหรอ ?
“หากสุนัขของบ้านนี้ไปอึหน้าบ้านอีกหลังหนึ่งจะทำกันอย่างไร ?”
“หากมีการกระทบกระทั่งกันเช่นหากบ้านนั้นจัดงานปาร์ตี้เสียงดังจะทำอย่างไร ?”
“ยากนะที่หลายครอบครัวจะมาอยู่ด้วยกัน ครอบครัวเดียวยังยุ่งเลยหลายครอบครัวไม่ยุ่งไป กันใหญ่หรือ ?”


ท่ามกลางสังคมทุนนิยมที่ทุกคนคุ้นเคยกับการมีวิถีชีวิตแบบปัจเจก สิ่งที่ เลือนหายไปคือการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนที่แตกต่างหลากหลาย การถ้อยทีถ้อยอาศัย ความยืดหยุ่นปรับตัวเข้าหากัน และความมีน้ำใจเมตตาแก่กัน สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือความกังวลใน การใช้ชีวิตร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กๆอย่างปัญหาอุจจาระสุนัข เสียงรบกวนจากงานปาร์ตี้ ไปจนถึงประเด็นใหญ่ๆอย่างเรื่องกรรมสิทธิ์
ข้อกังวลเหล่านี้เป็นความคิดปรุงแต่งที่ขวางกั้นความพยายามที่จะอยู่ร่วมกันของเราแต่ในมุมกลับกัน ข้อกังวลเหล่านี้ก็เป็นเครื่องมือที่ชัดเจนตรงไปตรงมาที่สุด ในการชวนพูดคุยถึง “รูปธรรมที่เป็นจริงของการอยู่อาศัยร่วมกัน”

สถาปนิก กับกระบวนการออกแบบวิถีชีวิตร่วมกัน

เพื่อที่จะสร้างชุมชนที่ทุกคนสามารถใช้ชีวิตร่วมกัน กระบวนการออกแบบบ้านอย่างมีส่วนร่วมมีความ สำคัญเท่าๆกับผลลัพธ์ของการออกแบบ โดยมีรายละเอียดของขั้นตอน วิธีการ และเครื่องมือดังนี้

1. ทำความรู้จัก : การทานอาหารและพูดคุยถึงภาพบ้านในฝันร่วมกัน

กิจกรรมเริ่มต้นที่สมาชิกทุกคนจะทำอาหารมาแบ่งปันและทานร่วมกันเป็นประจำทุก 2 สัปดาห์ การทานอาหารร่วมกันเป็นโอกาสให้สมาชิกทำความรู้จักและสร้างความคุ้นเคยกันได้ในเวลาอันรวดเร็ว รวมถึงเป็นโอกาสที่แต่ละครอบครัวจะนำภาพที่สื่อถึงบ้านในฝันของตนมาดู และพูดคุยแลกเปลี่ยน ถึงคุณค่า รูปแบบวิถีชีวิตในไปจนถึงแนวทางคลี่คลายข้อกังวลในประเด็นต่างๆของการอยู่อาศัยร่วมกัน ผลจากกระบวนการในขั้นนี้ทำให้เกิดความต้องการร่วมของผู้อยู่อาศัยในการสร้างชุมชนที่อยู่ร่วมอย่าง สอดคล้องกับธรรมชาติและมีบรรยากาศผ่อนคลายแบบบ้านริมคลอง

2. สร้างข้อตกลงร่วม : การออกแบบผังบริเวณและพื้นที่ส่วนกลางร่วมกัน

เมื่อได้ข้อสรุปถึงภาพบ้านในฝันที่ทุกครอบครัวต้องการร่วมกันแล้ว สถาปนิกได้ใช้เครื่องมือคือทางเลือกใน การวางผังบริเวณ และหุ่นจำลองแสดงแนวทางการใช้พื้นที่ดิน (SCHEMATIC) เพื่อให้ผู้อยู่อาศัย ทุกครอบครัวได้มีจินตนาการถึงภาพรวมของโครงการที่กว้างกว่าขอบเขตของบ้านตนเอง และสามารถ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อสรุปเป็นแนวทางในการออกแบบร่วมกัน ผลจากกระบวนการในขั้นนี้ทำให้ เจ้าของบ้านแต่ละรายเข้าใจถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น จากการออกแบบบ้านร่วมกัน และมีข้อสรุปถึงแนวทาง ในการออกแบบดังนี้

  • กำหนดให้พื้นที่บริเวณหน้ากลุ่มบ้านเป็นพื้นที่สีเขียวไม่มีการปลูกสร้างอาคาร เป็นทัศนียภาพที่สวยงาม ให้กับถนนหน้าโครงการและสร้างความต่อเนื่องกับพื้นที่สีเขียวบริเวณทางเข้าโรงเรียนที่อยู่ติดกัน
  • กำหนดให้มีที่จอดรถรวมเพื่อเปิดพื้นที่หน้าบ้านทุกหลังเป็นพื้นที่สีเขียวที่เปิดทะลุถึงกัน กลายเป็นพื้นที่สีเขียว ขนาดใหญ่ที่ทุกบ้านรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน

  • การออกแบบโดยใช้ไม้เป็นวัสดุหลัก และกำหนดให้อาคารมีสัดส่วนไม่ใหญ่ (INTIMATE SCALE) เพื่อสร้างความต่อเนื่องให้กับภูมิทัศน์ชายคลองด้านหลังโครงการ ให้กลมกลืนกับบ้านของชุมชนชาวสวนที่อยู่ ร่วมสายคลองเดียวกัน

  • การออกแบบเฉลียงริมคลองทางด้านหลังบ้านให้สามารถเดินเชื่อมต่อถึงกัน เป็นพื้นที่ในการปฏิสัมพันธ์ ไปมาหาสู่และเพิ่มโอกาสในการสัมผัสธรรมชาติของคลองที่สวยงาม

3. รายละเอียดการอยู่อาศัยร่วมกัน : กระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาแบบ

 กระบวนการต่อมาเป็นช่วงที่สถาปนิกร่วมกับเจ้าของบ้านออกแบบรายละเอียดการอยู่อาศัยในแต่ละหลัง แล้วจึงนำแบบของแต่ละหลังมาประกอบรวมกัน เพื่อพิจารณาหารือถึงแนวทางการพัฒนาแบบร่วมกัน ทั้งในประเด็นรายละเอียดของการใช้ชีวิตร่วมกัน และแนวทางที่จะทำให้เกิดการเอื้อประโยชน์ระหว่างกัน ได้มากที่สุดการดำเนินการขั้นนี้ ทำให้เกิดข้อสรุปในการออกแบบให้บ้านแต่ละหลังมีการยักเยื้อง กันไปมา เพื่อเปิดมุมมองไปยังพื้นที่สีเขียวและเฉลียงริมคลองให้กับบ้านทุกหลัง อีกทั้งเป็นการสร้างTRANSITION SPACE ระหว่างพื้นที่ภายนอกกับพื้นที่ภายในบ้านให้มีความเป็นสัดส่วน มากยิ่งขึ้น รวมถึงข้อตกลงที่จะออกแบบทางเดินเข้าบ้านและซุ้มประตูร่วมกัน เพื่อเพิ่ม โอกาสในการพบปะกันอย่างไม่เป็นทางการ และเป็นการประหยัดทรัพยากรในการก่อสร้าง

4. สรุปวิสัยทัศน์ในการอยู่อาศัยร่วมกัน : เตรียมตัวสู่กระบวนการสร้างชุมชน

เมื่อพัฒนาแบบในรายละเอียดเรียบร้อยแล้ว สถาปนิกได้จัดทำโมเดลเสมือนจริงเพื่อสรุปแบบ และสร้างความเข้าใจกับผู้อยู่อาศัยก่อนที่จะดำเนินการก่อสร้าง และเป็นช่วงเวลาที่สมาชิก ชุมชนบ้านเดียวกันในอนาคตจะสรุปวิสัยทัศน์ในการอยู่อาศัยร่วมกัน ก่อนที่จะดำเนินการสร้าง ชุมชน ผลจากการสรุปวิสัยทัศน์ร่วมกัน ทำให้เกิดข้อสรุปถึงแนวทางในการอยู่อาศัยร่วมกัน ซึ่งมีหัวใจสำคัญคือการพูดจากันอย่างตรงไปตรงมา และการรับฟังซึ่งกันและกัน เพื่อนำไปสู่การ แก้ไขปัญหาร่วมกัน

5. ชาวชุมชนสร้างชุมชน : กระบวนการมีส่วนร่วมในระหว่างการก่อสร้าง

ในขั้นนี้กลไกการมีส่วนร่วม ที่เป็นวิสัยทัศน์ของชุมชน ได้ทำหน้าที่เป็นช่องทางในการหารือและพัฒนาแบบระหว่างการก่อสร้างร่วมกัน และทำให้เกิดรูปแบบการสื่อสารของชาวชุมชนทั้งการนัดหมายเพื่อปรึกษาหารือ ระหว่างสมาชิก และการเกิดช่องทางใน SOCIAL MEDIA ที่สมาชิกได้ใช้ติดต่อสื่อสารกันอย่าง สม่ำเสมอจนถึงการเข้าอยู่อาศัยจริงในปัจจุบัน

สิ่งที่เกิดขึ้น... ไม่ใช่แค่งานสถาปัตยกรรม

“พวกเรามีการกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกันด้วยที่ผมจำติดใจ และชอบมากก็คือ มีอะไรให้พูดกันตรงๆ และรับฟังกันและกันเพราะจะช่วยให้ทุกคนลดละการปรุงแต่งความรู้สึกนึกคิดไม่ให้เตลิดไปไกล แล้วร่วมกันแก้ไขปัญหาอย่างตรงไปตรงมาด้วยดี เมื่อพวกเราได้วิธีการสนทนาที่ดีเช่นนี้แล้ว ก็จะได้ใช้ให้ต่อเนื่องต่อไป เพื่อช่วยให้ทั้งหกครอบครัวที่มาอยู่ด้วยกันเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน ได้อย่างราบรื่น และมีความสุข”

ผลลัพธ์ของกระบวนการมีส่วนร่วมในการออกแบบ ไม่เพียงทำให้เกิดสถาปัตยกรรมที่ทุก ครอบครัวมีส่วนร่วมคิดและเป็นเจ้าของร่วมกันเท่านั้น แต่ยังทำให้เกิดกลไกทางสังคม สำหรับการอยู่ร่วมกัน เกิดการเรียนรู้ที่จะเปิดใจ พูดคุย รับฟัง และทำความเข้าใจ ซึ่งกันและกันอย่างตรงไปตรงมา วิธีการที่สมาชิกชุมชนได้สร้างสรรค์ขึ้นมาผ่านกระบวนการ มีส่วนร่วมในการออกแบบร่วมกับสถาปนิกนี้ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ทุกครอบครัว สามารถอยู่ร่วมกันต่อไปในอนาคตได้อย่างมีความสุข และเป็นเหตุปัจจัย รากฐานที่จะนำพา สังคมไทยไปสู่การเป็นสังคมที่เข้มแข็งอีกครั้ง ท่ามกลางความหลากหลายและซับซ้อนของวิถีชีวิต ในยุคสมัยปัจจุบัน

“เรารู้สึกว่าสิ่งที่เค้ากำลังเรียนรู้และทำอยู่ เค้าไม่ได้ต้องการให้งานสถาปัตยกรรม” ของเค้าไปเปลี่ยนโลกที่ไหน แต่เค้าตั้งใจทำมันให้กับคนกลุ่มเล็กๆกลุ่มนึง ทำให้เรามีความสุขค่ะ”